ป.ป.ช. ลงพื้นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล วิเคราะห์สภาพปัญหากรณีการบุกรุกโบราณสถานเขาแดงสงขลา

ป.ป.ช. ลงพื้นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล วิเคราะห์สภาพปัญหากรณีการบุกรุกโบราณสถานเขาแดงสงขลา

วันที่ 23 มิ.ย. 65 ที่ป้อมหมายเลข 9 ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พ.ต.ต.ชัชนพ พดุงกาญจน์ ผู้ตรวจราชการสำนักงาน ป.ป.ช.พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ นางสุจิตร สุขสว่าง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา นายกริชชัย ภู่ฉุน นายอำเภอสิงหนคร ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา นางสาววรรณี พุฒแก้ว แทนอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ฯลฯ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา และข้อเท็จจริงตามประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริต กรณีการบุกรุกโบราณสถานเขาแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (STRONG:Together against Corruption – TaC) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กิจกรรมการขับเคลื่อนแนวทางต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ในพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตภาค 9 (จังหวัดสงขลา)

905f6d3c0908630cc92e099e844f4b40 Small

จากนั้นในช่วงบ่ายได้มีการประชุมหารือข้อตกลงร่วมเพื่อการต้านและลดทุจริตในพื้นที่จังหวัดสงขลา ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยมีนายจรัญ จันทรปาน ปลัดจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุม มีการชี้แจงนโยบายคณะกรรมการ ป.ป.ช ในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยนายสุชาติ กรวยกิตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 9 การชี้แจงข้อมูลสภาพปัญหา โดยสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการลงพื้นที่ เพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมในการแก้ไขปัญหาระหว่างจังหวัด กับสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลา ตลอดจนแนวทางในการดำเนินการระยะต่อไปของสำนักงานในโครงการ TaC Team

B13756f2a47571ec8f72c7a1c82ea125 Small

ทั้งนี้การบุกรุกทำลายพื้นที่รอบโบราณสถาน เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย กรณีเขาน้อยและเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งมีโบราณสถานสมัยศรีวิชัยเพียงไม่กี่แห่งในคาบสมุทรภาคใต้ เป็นกลุ่มโบราณสถานในสมัยอยุธยา ซึ่งสะท้อนรากเหง้าและตัวตนของสงขลา ถือเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมชั้นยอด มีสภาพน่าเป็นห่วง ถูกบุกรุกจนเกือบประชิตโบราณสถาน โดยเฉพาะวัดเขาน้อย โบราณสถานสมัยศรีวิชัย ที่ถูกไถปรับที่ห่างเพียง 60 เมตร เขาน้อย-เขาแดง เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสมัยโบราณ เพราะสามารถเห็นทัศนียภาพได้ไกลเหมาะกับการควบคุมเรือ พื้นที่บริเวณทางเหนือของเขาน้อย-เขาแดง เป็นที่ตั้งของเมืองสทิงพระ พบคูน้ำล้อมรอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า มีอายุตั้งแต่พุทธศวรรบที่ 11 รุ่งเรืองในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-17) และสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา

392c7ae4bcdce3904c314620acc00793 Small
2e2023f2afc7415df870d7b0c80640c5 Small
4de40fb3c8f18825ffc7d42933ca6657 Small

อ้างอิง : สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา , สวท.สงขลา

Next Post

สงขลา แจ้ง​ปิดแยกคูหารัตภูมิ เพื่อก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ตั้งแต่ 24 มิ.ย.เป็นต้นไป

Thu Jun 23 , 2022
สงขลา แจ้ง​ปิดแยกคูหารัตภูมิ เพื่อก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ตั้งแต่ 24 มิ.ย.เป็นต้นไป วันที่ 23 มิ.ย. 65 เทศบาลตำบลคูหาใต้ประกาศแจ้งผู้ใช้เส้นทางแยกคูหาโปรดทราบ งานก่อสร้างทางต่างระดับข้ามแยกคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จะมีการปิดทางข้ามแยกถนนสี่แยกคูหา ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไปจนกว่าจะเเล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการก่อสร้างเสาเข็มตอหม้อสะพาน ในโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 4 กับทางหลวงหมายเลข 406 (แยกคูหา) จ.สงขลา จึงจำเป็นต้องปิดตรงกลางแยกเพื่อดำเนินงานก่อสร้างจนกว่าจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้โครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัด ทล.4 กับ ทล. 406 (แยกคูหา)ซึ่งเป็นจุดทางแยกที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางการขนส่งสินค้า ปัจจุบันทางแยกดังกล่าวเป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจร ดังนั้นการปรับปรุงบริเวณทางแยกโครงการฯให้เป็นทางแยกต่างระดับจะทำให้บรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยการออกแบบปรับปรุงทางแยกต้องมีการสำรวจและวิเคราะห์ทางวิศวกรรมอย่างละเอียด ซึ่งจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำข้อคิดเห็นมาประกอบในการพิจารณาออกแบบโครงการได้อย่างเหมาะสม  อ้างอิง : เทศบาลตำบลคูหาใต้ Facebook iconFacebookTwitter […]
ปกข่าว 01