ระบบ AI แม่นจริงหรือเปล่ากับเงินเยียวยา 5,000 จากภาครัฐ
หากจะพูดถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสอย่างต่อเนื่องสำหรับพี่น้องชาวไทย นั้นคือเงินเยียวยาจากภาครัฐ ซี่งในวันนี้เอง (13 เมษายน 2563) ทางภาครัฐได้มีการจ่ายเงินงวดที่สอง หากมองโดยทั่วไป มันก็คงจะดีไม่น้อยที่ภาครัฐสามารถแจกจ่ายเงินให้กับทุกคนในช่วงที่วิกฤตการณ์โควิด-19 จากกรณีที่รัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนต้องหยุดการประกอบอาชีพ โดยให้ลงทะเบียนผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินเยียวยาจากภาครัฐเดือนละ 5 พันบาท เป็นเวลา 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ ขณะนี้มีคนได้รับสิทธิ์กันเป็นบางส่วนแล้ว
ทำไมภาครัฐต้องเลือก AI เข้ามาคัดกรอง
หากมองในแง่ของทฤษฎีการคัดกรองรายชื่อด้วยระบบ AI นั้นเป็นวิธีที่เหมาะสมเป็นอย่างมาก เพราะจำเป็นต้องคัดกรองข้อมูลในปริมาณมหาศาล หากจะใช้ความสามารถของมนุษย์คงต้องรออีกนานกว่าที่จะได้รับเงินเยียวยา ฉะนั้นโครงการในครั้งนี้ AI ทางเลือกที่ดีที่สุดในการคัดกรองผู้ที่เหมาะสมอันควรได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ เพราะความสามารถอย่างหนึ่งของ AI คือความรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงความสามารถในการลด Human Error หรือ ความผิดพลาดอันเกิดจากมนุษย์
เมื่อประชาชนไม่พอใจ ถึงผลการคัดรองจากเงินเยียวยา
สถานการณ์ล่าสุดได้มีประเด็นบนทวิตเตอร์จนทำให้แฮชแท็ก #เราไม่ทิ้งกัน พุ่งขึ้นติดเทรนอันดับต้นๆ ถึงการตรวจสอบสิทธิ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง บางคนระบุว่าแม่อายุ 53 แล้ว เปิดกิจการแต่ถูกสั่งให้หยุด จนขาดรายได้ เมื่อลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยา ปรากฏว่าไม่เข้าเกณฑ์การรับเงินเพราะเป็นนักศึกษา เช่นเดียวกับหญิงสาวรายหนึ่งระบุว่าตนเองเป็นไกด์มา 7 ปีไปลงทะเบียนแต่ก็ไม่ผ่านโดยบอกว่าเป็นนักศึกษาเช่นกัน
บางรายระบุว่าแม่รับจ้างรีดผ้าซึ่งเป็นอาชีพอิสระ ไม่มีคนมาส่งผ้าให้รีด เมื่อไปลงทะเบียนปรากฏว่าก็ไม่ผ่านเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่าเป็นเกษตรกร ขณะที่คนรับจ้างรีแลนซ์กองละคร หยุดถ่ายไม่มีรายได้แต่โดนปฏิเสธเพราะตรวจสอบแล้วว่าเป็นเกษตรกร จากกรณีดังกล่าวสร้างความสงสัยให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมากถึงระบบการสอบสิทธิ์ว่าเหตุใดผลจึงออกมาเป็นเช่นนี้ และเรียกร้องให้มีการแก้ไขเกิดขึ้น
เรื่องนี้เป็นความผิดของคนหรือ AI
ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นมานั้นทางด้าน นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย และเป็นหนึ่งในทีมดูแลระบบลงทะเบียนของเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Chao Jiranuntarat ถึงกรณีที่หลายคนตั้งคำถามว่า “เว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน ใช้ระบบ AI ในการคัดกรองคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนจริงหรือไม่” โดยนายสมคิดระบุว่า “มีผู้ถามมามากว่าระบบการคัดกรองเป็น AI จริงหรือไม่ ถ้าตอบตามความหมายของ AI ในปัจจุบัน คิดว่าคงไม่ใช่ AI แต่เป็นการให้ระบบไปตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กระทรวงการคลังเป็นผู้กำหนด โดยอาจไปตรวจสอบกับข้อมูลภาครัฐอื่นๆ ตามเงื่อนไข ซึ่งข้อมูลภาครัฐอื่นๆ ที่ไปตรวจสอบอาจไม่ได้สมบูรณ์ 100% จึงเป็นกรณีที่หลายคนกังขาว่าทำไมคนนี้ได้ คนโน้นไม่ได้ ซึ่งแม้ผมไม่ได้มีส่วนในการคัดกรอง เพราะการคัดกรองที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภาครัฐเป็นเรื่องที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยภาครัฐเท่านั้น ผมก็เชื่อว่ากระทรวงการคลังต้องการให้เงินชดเชยสามารถกระจายไปให้ผู้ที่เหมาะสมมากที่สุด สิ่งที่ทุกคนบอกกล่าว หรือบ่นมาก็เป็นส่วนสำคัญให้การคัดกรอง มีการปรับให้ตรงตามเป้าหมายมากที่สุด”
เราจะจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างไร
ในภาคประชาชนนั้น สำหรับท่านที่โดดตัดสิทธิ์จากมาตรการเยียวยาในครั้งนี้ จำเป็นต้องแจ้งผ่านช่องทางการอุทธรณ์ผลการพิจารณาสำหรับผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการอุทธรณ์ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือนเช่นเดิม เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์ ในส่วนทางด้านระบบนั้นภาครัฐจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนระบบ AI เพราะความฉลาดของ AI จำเป็นต้องใส่ข้อมูลเพราะให้เกิดการเรียนรู้ ยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เกิดการสังเคราะห์แยกแยะว่าใครควรได้รับรับถึงสิทธิ์ที่ผู้ลงทะเบียนสมควรจะได้รับหรือไม่
โดยสรุป ภาครัฐจำเป็นอย่างที่จะเข้ามาพัฒนาระบบให้มีความเสถียรเกิดข้อบกพร่องให้น้อยสุดที่สุด เราคงจะไปคาดหวังให้มันสมบูรณ์คงเป็นไปไม่ได้อย่างนอนเพราะระบบทุกอย่างบนโลกใบล้วนแล้วแต่มีข้อบกพร่อง แต่จะมากจะน้อยแค่ไหนคงต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายพัฒนาและแก้ไข
อ้างอิงข้อมูลจาก: thairath, Chao Jiranuntarat, เราไม่ทิ้งกัน, AI Singapore
ภาพประกอบ: Chao Jiranuntarat, เราไม่ทิ้งกัน, ฐานเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์