ศบค. เตรียมส่งเรื่องพิจารณามาตรการผ่อนคลายเฟส 4 สัปดาห์หน้า

ศบค. เตรียมส่งเรื่องพิจารณามาตรการผ่อนคลายเฟส 4 สัปดาห์หน้า
ศบค. เตรียมส่งเรื่องพิจารณามาตรการผ่อนคลายเฟส 4 สัปดาห์หน้า

 

ศบค. เตรียมส่งเรื่องพิจารณามาตรการผ่อนคลายเฟส 4 สัปดาห์หน้า

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 5 มิถุนายน 2563 (วันนี้) ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. กล่าวถึงการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมระยะที่ 4

ทางด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. ระบุว่า อะไรที่พร้อมให้เปิด ตามที่คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มี พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน ได้พิจารณา ซึ่งหากได้ข้อสรุปก็จะเข้าสู่ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ในสัปดาห์หน้า (วันศุกร์ที่ 12 มิ.ย.63 ) ซึ่งเร็ว ๆ นี้จะได้ข่าวดี นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน กล่าวทิ้งท้าย

โดย ณ ขณะนี้ทางโฆษกศบค.เปิดเผยถึงกิจการและกิจกรรมที่จะผ่อนคลายในระยะต่อไป มี 12 กิจการและกิจกรรม ประกอบด้วย

1. โรงเรียนและสถาบันการศึกษา
2.สถานรับเลี้ยงเด็กและสถานดูแลผู้สูงวัย
3.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
4.ห้องประชุมที่มีการรวมกลุ่มคนมากกว่า 200 คน
5.การถ่ายทำรายการภาพยนตร์และวีดีทัศน์
6.อุทยานแห่งชาติ สวนรุกขชาติ
7.ชายหาด ชายทะเล
8.สวนสนุก สวนน้ำ ร้านเกมส์
9.สนามกีฬา โรงยิม สถานที่ออกกำลังกาย
10.การจัดแสดงคอนเสิร์ต ดนตรี งานอีเวนท์ จัดแสดงสินค้า
11.สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ
12.สถานบริการอาบอบนวด

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

นายกฯย้ำ พ.ร.บ.โอนงบฯ ตรวจสอบได้ ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตทั้งโควิดและเศรษฐกิจไปด้วยกัน

Sat Jun 6 , 2020
นายกฯย้ำ พ.ร.บ.โอนงบฯ ตรวจสอบได้ ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตทั้งโควิดและเศรษฐกิจไปด้วยกัน     นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2 เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โอนเงินงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 ว่า อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจกับรายละเอียดของกฎหมายใน พ.ร.บ.งบดังกล่าว โดยเฉพาะ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังภาครัฐ พ.ศ.2561 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายฯ ได้พิจารณาสถานการณ์ตามห้วงเวลา แต่เมื่อกลับเข้าสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้นก็จะปรับงบเป็นปกติ ไม่ได้นำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น  ถ้าหากประเทศไทยไม่มีสถานการณ์วิกฤตแบบในปัจจุบัน หนี้สาธารณะของไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 40 ซึ่งถือว่าต่ำ แต่เมื่อมีการกู้เงินหนี้สาธารณะจะต้องเพิ่มขึ้น เรื่องนี้คณะกรรมการหนี้สาธารณะจะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ งบกลางปี 2563 ขณะนี้มีเหลืออยู่อย่างจำกัด เพราะที่ผ่านมาจำเป็นต้องใช้งบประมาณนี้เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเรื่องภัยแล้งเร่งด่วน รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ช่วงการประชุม ครม.นอกสถานที่ ซึ่งมีการใช้งบประมาณไปมากพอสมควร และการใช้งบประมาณเป็นไปตามขั้นตอนทุกประการ โดยการรับฟังประชาชนและสะท้อนความต้องการมาถึง ครม. และการดำเนินการต่างๆ สามารถตรวจสอบได้ ความสำคัญของ พ.ร.บ.โอนเงินงบประมาณรายจ่ายฯ เนื่องจากกฎหมายใหม่ไม่สามารถโอนงบประมาณข้ามระหว่างกระทรวงได้ดังเดิม ต้องเป็นโครงการที่ผ่านความเห็นชอบ มีแผนงาน มีรายละเอียดที่ชัดเจน […]
นายกฯย้ำ พ.ร.บ.โอนงบฯ ตรวจสอบได้ ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตทั้งโควิดและเศรษฐกิจไปด้วยกัน