ขยับเวลาเคอร์ฟิว ให้สอดคล้องกับการเปิดบางกิจการในช่วงผ่อนคลายมาตรการระยะ 2
วันนี้ 14พ.ค.63 ที่ประชุม กก.ฉก.พิจารณามาตรการผ่อนคลาย จ่อเสนอเลื่อนเวลาเคอร์ฟิวเป็น 23.00-04.00 น. รอส่งนายกฯ เคาะใน ศบค.ใหญ่พรุ่งนี้ อาจปรับบางมาตรการให้กองถ่ายเพิ่มคนทำงานได้ 10 คน
สำหรับรายละเอียดของมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ โฆษก ศบค.เปิดเผยร่างกิจการและกิจกรรมที่จะคลายล็อกมากขึ้น แต่มีเพิ่มเติม เช่น ทีมถ่ายทำภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ จากเดิมที่ระบุไว้ไม่เกิน 5 คน อาจจะเพิ่มเป็น 10 คน เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงาน
และเมื่อวันนี้ 13 พ.ค. 63 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๒/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการ ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้มีประกาศขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น
เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกัน และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ดำเนินการไปโดยเป็นลำดับ ขั้นตอน ตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก และผลการประเมินสถานการณ์ทางด้านสาธารณสุข เพื่อให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติได้อย่างเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ วรรคสอง ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้ มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบ
( ๑ ) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประธาน หัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
( ๒ ) รองผู้บัญชาการทหารบก รองประธาน (พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์) รองหัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
( ๓ ) รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองประธาน ที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย
( ๔ ) ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กรรมการ
( ๕ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรรมการ
( ๖ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน กรรมการ
( ๗ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ กรรมการ
( ๘ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กรรมการ
( ๙ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศ และการดูแลคนไทยในต่างประเทศ กรรมการ
( ๑๐ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคม และการขนส่งทั่วราชอาณาจักร กรรมการ
( ๑๑ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา กรรมการ
( ๑๒ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านการควบคุมสินค้า กรรมการ
( ๑๓ ) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา กรรมการ
( ๑๔ ) ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
( ๑๕ ) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
( ๑๖ ) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด กรรมการ
( ๑๗ ) ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร
( ๑๘ ) ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร กรรมการ
( ๑๙ ) นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการ
( ๒๐ ) นายสันติธาร เสถียรไทย กรรมการ
( ๒๑ ) รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ และ ที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย เลขานุการร่วม
( ๒๒ ) พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ กรรมการ และ เลขานุการร่วม
( ๒๓ ) เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ และ ผู้ช่วยเลขานุการ
( ๒๔ ) เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ และ สังคมแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ
( ๒๕ ) เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค กรรมการ และ ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
( ๑ ) ประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์ กลั่นกรอง รวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ทางวิชาการ และข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ และจัดทำแนวทางผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการ ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในทุกห้วง ระยะเวลา ๑๔ วัน เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
( ๒ ) จัดทำร่างข้อกำหนดเพื่อผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการตาม ( ๑ ) รวมทั้งหลักเกณฑ์ และวิธีการปฏิบัติสำหรับกิจการหรือกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
( ๓ ) ประสานการดำเนินการกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือส่งเอกสารหลักฐานใดๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
( ๕ ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 มอบหมาย
ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามคำสั่งนี้เป็นที่ปรึกษา ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
อ้างอิง : ราชกิจจานุเบกษา