สรุป 6 มาตราการผ่อนปรนจาก ศบค. ช่วงโควิด-19
สืบเนื่องจากวันที่ 30 เมษายน 2563 (วานนี้) ได้มีรายงานจาก ศบค. มีมติเห็นชอบมาตรการผ่อนปรนให้มีมาตรฐานกลางบางกิจการและกิจกรรม เช่น แผงลอย หาบแร่ กิจกรรม เช่น การออกกำลังกายในสวนสาธารณะ โดย ศบค. จะกำหนดมาตรฐานกลาง และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผู้ว่าฯ กทม. กำหนดรายละเอียดต่อไป โดยสามารถกำหนดความเข้มข้น มากกว่าระดับมาตรฐานกลางได้ แต่น้อยกว่ามาตรฐานกลางไม่ได้ และต้องมีแนวทางดำเนินการที่คำนึงถึงความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก และสังคม-เศรษฐกิจตามมา
การยึดถือข้อกำหนดตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1 ข้อ 11 เช่น การทำความสะอาดพื้นผิวสถานที่ที่เกี่ยวข้อง การใส่หน้ากากผ้า การล้างมือ การรักษาระยะห่าง 1 เมตร มีแอปลิเคชั่นตามตัว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.อธิบายเพิ่มเติมถึงมาตรการผ่อนปรน 6 กลุ่มกิจการและกิจกรรม ดังนี้
1. ตลาด ได้แก่ ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน แผงลอย
2. ร้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารทั่วไป ร้านเครื่องดื่ม ขนนหวาน ไฮศรีม (นอกห้าง) ร้านอาหารริมทาง รถเข็นและหาบเร่
3. กิจการค้าปลีก-ส่ง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อบริเวณพื้นที่นั่ง/ยืนรับประทาน รถเร่ หรือ รถวิ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้าปลีกขนาดย่อย/ร้ายอาหารปลีกชุมชน ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม
4. กีฬาสันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมในสวนสาธารณะ ได้แก่ เดิน,รำไทเก็ก สนามกีฬากลางแจ้งที่เป็นการออกกำลังกายโดยไม่ได้เล่นเป็นทีมและไม่มีการแข่งขัน ได้แก่ เทนนิส ยิงปืน ยิงธนู จักรยาน กอฟล์และสนามซ้อม
5. ร้านตัดผม-เสริมสวย ได้แก่ ร้านตัดผมเฉพาะตัด สระ ไดร์ผม
6.อื่น ๆ เช่น ร้านตัดขน ร้านรับเลี้ยงรับฝากสัตว์
โดยทุกประเภทกิจการเริ่มเปิดดำเนินการได้ 3 พ.ค.2563
ทางด้านนายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน กล่าวว่า ในส่วนของมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 2 จะเป็นมาตรการที่เปิดให้ทำการในระบบปิด เช่น ห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะต้องมีการขอนุญาตท้องถิ่นว่ามีการอนุมัติให้หรือไม่อย่างไร และจะมีคิวอาร์โค้ดที่แสดงว่าได้รับอนุมัติ ซึ่งถ้าระยะที่ 1 ออกมาดี ก็ขอให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวสำหรับระยะที่ 2 และที่ 3 ต่อไป โดยดูระยะเวลา 14 วัน
ทั้งนี้ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อซักถามเรื่องการห้ามขายเหล้าในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ช่วงที่ผ่านมา เหล้าเป็นปัจจัยนำไปสู่ความเสี่ยงในการชุมนุมคน ซึ่งประกาศเดิมงดขายถึงวันที่ 30 เม.ย. แต่เนื่องจาก ศบค. ออกข้อสั่งการให้ถึง 30 เม.ย.ให้มีผลต่อไป ซึ่ง มท.จะสั่งการให้เป็นไปตามนั้น
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การที่ประกาศระบุว่า ให้ยืดออกไป หมายถึง ทำอย่างไรคือทำอย่างนั้นต่อไป ไม่ต้องมีการเว้นวรรค
ภาพ/อ้างอิง: ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์