สภ.สิงหนคร ลงพื้นที่พบปะประชาชนนำตัวผู้เสพยาเสพติดเข้าขบวนการบำบัด ที่โรงพยาบาล
วันที่ 1 ธ.ค. 65 พ.ต.อ.เสวี วุ่นหนู ผกก.สภ.สิงหนคร พ.ต.ท.เหนือฟ้า มุสิเกตุรอง ผกก.ป.สภ.สิงหนครพ.ต.ท.สุเทียน เรืองวรุณวัฒนา รอง ผกก.สส. สภ.สิงหนคร สั่งการให้ร.ต.อ.นพพงค์ ชุมแก้ว รอง สวปฯ/หน.ชป.พร้อม ด้วย ร.ต.อ.อับดุลอาซิส คงคาลิหมิน สายตรวจหัวเขา พร้อมด้วย ชุดปฎิบัติการ ค้นหาผู้เสพ ผู้ใช้ยาเสพติด ผู้มีอาการทางจิต ลงพื้นที่ ประสานผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำตัวเสพเข้าขบวนการบำบัดยาเสพติด ม.8 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา เพื่อติดตามผู้เสพนำเข้าขบวนการบำบัด ส่งรพ.สต. และ รพ.สิงหนคร

แนวคิดเรื่องการจัดค่ายอบรมฟื้นฟูจิตใจหลังการบำบัดรักษา อ้างอิงจากผลการศึกษาปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อการติดยาเสพติดซ้ำ (Personal Factors Related to be Relapse Drug Users)โดย ดร.อาภาศิริ สุวรรณานนท์ และดร.รัตนา บรรณาธรรมและคณะ (2550) พบว่า ปัจจัยด้านบุคคล เชิงลึกของผู้ติดยาเสพติดที่มีการกลับไปติดยาเสพติดซ้ำ ประการหนึ่งคือ การไม่มีเป้าหมายในชีวิต ทุกข์จากความเครียดในปัญหาต่างๆ และปัจจัยแตกต่างที่พบว่า ผู้ติดยาเสพติดซ้ำมีน้อยกว่าผู้เลิกยาเสพติดได้ คือ การมองเห็นคุณค่าตนเองในความสำเร็จที่ผ่านมา ความภูมิใจและวิธีการแก้ปัญหาในปัจจุบัน

นอกจากนี้ การศึกษายังระบุว่าแนวทางในการกำหนดนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดซ้ำ ด้านการบำบัดฯ คือ ต้องมีกิจกรรมการให้คำปรึกษา กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้จักคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองและรู้จักตนเอง สามารถวางเป้าหมายและเกิดแรงจูงใจทางบวกต่อการดำเนินชีวิต เจ้าหน้าที่ในสถานบำบัดฯ ต้องดูแลอย่างเต็มใจมีการพัฒนารูปแบบและเวลาที่ใช้ในการบำบัดที่เหมาะกับลักษณะผู้ป่วย ซึ่งมีภูมิหลังหรือบุคลิกลักษณะที่ต่างกัน ด้านการป้องกัน ต้องมีการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง เน้นการส่งเสริมการศึกษาการปลูกฝังวิธีคิดความเกรงกลัวบาปหรือจริยธรรมให้เด็กเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้ครอบครัว การป้องกันการเสพติดซ้ำในกลุ่มผู้ที่เลิกยาเสพติดได้ ทุกฝ่ายต้องยอมรับว่าผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เปิดโอกาสให้เข้ามา ร่วมกิจกรรมในชุมชนพร้อมๆ กับการสร้างอาชีพและรายได้โดยชุมชน





อ้างอิง : สภ.สิงหนคร , โครงการ TO BE NUMBER ONE