สงขลา-ปัตตานี สภาพัฒน์สั่งทำการศึกษา SEA แล้ว
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาเลขาธิการสภาพัฒน์ ได้ลงนามในคำสั่งตั้งคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEA สงขลา-ปัตตานี(SEAจะนะ) แล้วหลังรอการลงนามมานาน
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เปิดเผยว่า กรรมการที่ปรากฏมีนักวิขาการที่มีจุดยืนหลากหลาย คนที่หนุนนิคมก็มี คนที่หนุนถ่านหินก็มี คนที่ไม่เอาอุตสาหกรรมหนักก็มี คนที่เน้นอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติก็มี เมื่อสภาพัฒน์ตั้งมาแล้วในท่ามกลางความยากลำบากของการต่อรองจากหลายฝ่าย ผมเห็นว่า การที่คนแต่ละคนมีจุดยืนเอียงไปทางใดทางหนึ่งนั่นไม่แปลก ไม่มีใครหรอกที่เป็นกลาง แต่หวังว่า ด้วยจิตวิญญาณและจรรยาบรรณความเป็นนักวิชาการ จะยืนบนฐานวิชาการและวิธีวิทยาที่ถูกต้องในการหาข้อสรุปอนาคตของจะนะและสงขลา-ปัตตานีสภาพัฒน์ได้เริ่มเขี่ยลูกแล้ว จังหวะต่อไปก็คือ การจัดจ้างคัดเลือกสถาบันการศึกษามาทำการศึกษา SEA ต่อไปการศึกษา SEA จะนะครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่ง ว่าประเทศไทยจะสามารถทำแผนพัฒนาจากการศึกษาที่รัดกุมจากฐานล่างขึ้นมาได้หรือไม่ และเป็นการจัดการความขัดแย้งที่ปะทุแล้วด้วยหลักวิชาการอีกด้วย ภาษาวิชาการเรียกว่า constructive engagement (ประมาณว่าร่วมคิดร่วมลงมือ) ซึ่งมากกว่าแค่ participation (การมีส่วนร่วม ซึ่งหลังๆถูกลดทอนเหลือเพียงการร่วมแสดงความเห็นในเวที) ผมมีความหวังนะครับ กับ SEA จะนะในครั้งนี้
อ้างอิง : นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ