สงขลา เตือนปชช. ระวังโรคเลปโตสไปโรสิส (โรคไข้ฉี่หนู) เลี่ยงลุยน้ำ ย่ำดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า

สงขลา เตือนปชช. ระวังโรคเลปโตสไปโรสิส (โรคไข้ฉี่หนู) เลี่ยงลุยน้ำ ย่ำดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า

วันที่ 29 ส.ค. 65 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลา) ย้ำเตือนประชาชน หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีน้ำขัง ไม่ควรเดินลุยน้ำ ย่ำดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะ ด้วยเท้าเปล่าหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน แนะสวมรองเท้าบูทป้องกัน หากมีไข้เฉียบพลันหลังลุยน้ำ 1-2 สัปดาห์ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณน่อง โคนขา อย่าซื้อยากินเอง ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีโรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) หรือโรคไข้ฉี่หนู เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะระบาดหน้าฝนและโดยเฉพาะหลังน้ำลด พบผู้เสี่ยงต่อ การติดเชื้อในเกษตรกร ที่ต้องเดินลุยน้ำ มีน้ำขัง หรือพื้นดินชื้นแฉะที่มีโอกาสปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย หมู หมา แพะ หนู รวมทั้งผู้ที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์/โรงฆ่าสัตว์/ผู้ที่ชำแหละสัตว์ที่มีเชื้อโรคฉี่หนู ทำ ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้

302323551 438186208351703 6375017688390119059 N

สถานการณ์ โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) หรือโรคไข้ฉี่หนู ในเขตสุขภาพที่ 12 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 28 สิงหาคม 2565 จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) และระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติของทีมตระหนักรู้สถานการณ์โรคประจำสัปดาห์ (SAT) ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส จำนวน 296 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 6.46 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น จำนวน 5 ราย จำแนกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดสงขลา 2 ราย (อำเภอสะเดา 1 ราย อำเภอบางกล่ำ 1 ราย), จังหวัดตรัง 2 ราย (อ.เมือง 1 ราย อ.ปะเหลียน 1 ราย) และจังหวัดพัทลุง 1 ราย (อำเภอบางแก้ว 1 ราย) ทั้งนี้ พบผู้ป่วยเพศชาย มากกว่า เพศหญิง โดยพบเพศชาย 238 ราย เพศหญิง 58 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55-65 ปี และ 25-34 ปี สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือรับจ้าง ร้อยละ 30.07 รองลงมาคือ อาชีพเกษตร ร้อยละ 28.38 และอาชีพนักเรียน ร้อยละ 23.31 พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนพฤษภาคม จำนวน 68 ราย

Closeup Selective Focus Shot Of A Brown Rat On The Concrete Ground

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า โดยอาการของโรคไข้ฉี่หนู พบว่า จะมีไข้สูงทันทีทันใด หลังลุยน้ำ 1-2 สัปดาห์ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง ที่สำคัญขอให้แจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาทันที ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากพบแพทย์ช้าเกินไป

อ้างอิง : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

Next Post

สงขลา คืบหน้าโครงการสร้างถนนคลองแงะ - นาทวี เส้นทางใหม่เข้าสู่มาเลเซีย คาดแล้วเสร็จกลาง ก.ย. 2565

Mon Aug 29 , 2022
สงขลา คืบหน้าโครงการสร้างถนนคลองแงะ – นาทวี เส้นทางใหม่เข้าสู่มาเลเซีย คาดแล้วเสร็จกลาง ก.ย. 2565 วันที่ 29 ส.ค. 65 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง พร้อมด้วย ดร.มนตรี เดชาสกุลสม รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ นายไพจิตร แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 16 (นครศรีธรรมราช) นายจอมปวีร์ จันทร์หิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 18 (สงขลา) ลงพื้นที่ตรวจสอบความเรียบร้อย และติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 42 ตอนคลองแงะ – นาทวี จังหวัดสงขลา ระหว่าง กม.2 – กม.9 โดยมี นายวรศักดิ์ วงษ์รอด ผู้อำนวยการศูนย์สร้างทางสงขลา และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ให้การต้อนรับและรายงานสรุปการดำเนินงานโครงการฯ โดย ศูนย์สร้างทางสงขลาได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 42 ตอนคลองแงะ […]
ปกข่าว 01