พยากรณ์อากาศ 7 วัน สำหรับบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก วันที่ 28 ก.พ. – 5 มี.ค. 65

พยากรณ์อากาศ 7 วัน สำหรับบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก วันที่ 28 ก.พ. – 5 มี.ค. 65

วันที่ 28 ก.พ. 65 รายงานผลการตรวจอากาศด้วยเรดาร์ จากสถานีตรวจอากาศด้วยเรดาร์สทิงพระ ตรวจพบกลุ่มฝนกำลังอ่อน-ปานกลางปกคลุมบริเวณอ.ดอนสัก อ.บ้านนาสาร อ.พระแสง อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี อ.ท่าศาลา อ.พิปูน อ.พรหมคีรี อ.ฉวาง อ.ช้างกลาง อ.จุฬาภรณ์ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช อ.ห้วยยอด จ.ตรัง อ.ป่าบอน อ.ปากพะยูน อ.ตะโหมด จ.พัทลุง อ.หาดใหญ่ อ.บางกล่ำ อ.สะเดา อ.นาทวี อ.สะบ้าย้อย อ.เทพา อ.จะนะ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา อ.โคกโพธิ์ อ.ยะรัง อ.มายอ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี อ.กาบัง อ.บันนังสตา อ.ยะหา อ.เมืองยะลา อ.รามัน อ.ธารโต จ.ยะลา อ.รือเสาะ อ.ศรีสาคร อ.ยี่งอ อ.เมืองนราธิวาส อ.ตากใบ อ.เจาะไอร้อง อ.ระแงะ จ.นราธิวาส อ.ควนกาหลง จ.สตูล รวมถึงในทะเลอ่าวไทย ในทะเลอันดามัน และบริเวณชายแดนประเทศมาเลเซีย

274700240 5245649812154519 503900730129117000 N 1

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร

274755520 5244929348893232 8769416180392567435 N

บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง 

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อ้างอิง : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก

Next Post

เตือนชาวสวนหยุดกรีดช่วงยางผลัดใบ เหตุทำต้นยางเสียหายและอายุกรีดสั้นลง

Wed Mar 2 , 2022
เตือนชาวสวนหยุดกรีดช่วงยางผลัดใบ เหตุทำต้นยางเสียหายและอายุกรีดสั้นลง วันที่ 2 มี.ค. 65 นายเชาว์ ทรงอาวุธ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามวงจรธรรมชาติ ฤดูที่ยางผลัดใบจะเป็นช่วงหน้าร้อนของแต่ละพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เดือนมีนาคมทุกพื้นที่เข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง และเป็นช่วงที่ยางผลัดใบ โดยใบยางจะมีสีเหลือง และร่วงหล่นจากต้น เป็นสัญญาณเตือนให้เจ้าของสวนยางควรหยุดกรีดยางในช่วงนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ยางผลัดใบ ทิ้งใบ ต้นยางจะไม่มีใบสีเขียวเพื่อการสังเคราะห์แสง ทำให้ต้นยางต้องเคลื่อนย้ายอาหารที่เป็นแป้งและน้ำตาลจากใบแก่ไปเก็บไว้ที่บริเวณลำต้น และเมื่อยางเริ่มแตกใบอ่อน อาหารที่ถูกเก็บไว้ที่ลำต้นจะถูกนำไปใช้สร้างใบอ่อนของต้นยาง ในช่วงนี้ ถ้าเกษตรกรยังฝืนกรีดยาง ก็จะเป็นเหมือนการแย่งอาหารต้นยาง ส่งผลให้ยางเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้ต้นยางไม่สมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่ออายุการกรีดที่ไม่ยาวนานของต้นยางในอนาคต          นอกจากนี้ การฝืนกรีดยางในช่วงผลัดใบหรือแตกใบอ่อน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นยางไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารได้เต็มที่ ส่งผลให้ต้นยางไม่สมบูรณ์และทรมานต้นยาง อาจทำให้ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้ง หรือกรีดแล้วไม่มีน้ำยาง ในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า ดังนั้น เกษตรกรชาวสวนยางควรหยุดกรีดยางในช่วงนี้ เพื่อเป็นการพักต้นยางพารา ให้สามารถสะสมอาหารไปหล่อเลี้ยงใบอ่อนเพื่อสร้างความเจริญเติบโต และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยาง ซึ่งชาวสวนยางสามารถเริ่มกรีดได้อีกครั้ง ในช่วงที่ใบยางที่แตกใหม่เจริญเต็มที่และเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม         อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ยางผลัดใบ เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ ควรเลือกทำอาชีพเสริมอื่นๆ โดยใช้เนื้อที่ว่างที่มีอยู่ในสวนยาง […]
ปกข่าว 01