สงขลา โครงสร้างหินทิ้ง ต.ท่าบอน-ระโนด สามารถป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งได้จริง
วันที่ 13 ก.ย. 64 นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างตามโครงสร้างหินทิ้งป้องการกัดเซาะชายฝั่ง ในช่วงบริเวณวัดอู่ตะเภา ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด และโครงสร้างหินทิ้งป้องการกัดเซาะชายฝั่ง พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ช่วงบริเวณ บ้านหมู่ 3, 4 และ 5 ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนด และเตรียมพร้อมรับอุบัติภัยทางธรรมชาติที่อาจจะมาถึงในช่วงฤดูฝน ทั้งนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว มีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานราชการ เนื่องจากสามารถป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังสามารถสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และอาจสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย
อย่างไรก็ตามจังหวัดสงขลา สภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีความยาวรวมประมาณ 158 กม. เกิดการกัดเซาะแนวชายฝั่งประมาณ 55 กม. โดยเฉพาะชายหาดบริเวณ อําเภอจะนะ เกิดการกัดเซาะรุนแรง มีการป้องกันการกัดเซาะและลดความแรงคลื่น ด้วยโครงสร้างหลายรูปแบบ ทั้งกําแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด (Sea Wall)เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore Breakwater) เขื่อนหินทิ้ง (Revetment) รอดักทราย (Groin หรือ Groyne) และเสาคอนกรีตหรือเสาเข็ม ปัจจุบันกรมเจ้าท่ากําลังดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างป้องกัน การกัดเซาะบริเวณ ตําบลเกาะแต้ว อําเภอเมืองสงขลา ไปจนถึง ตําบลนาทับ อําเภอจะนะ
อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา , โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย