ตำรวจภูธรหาดใหญ่ จับ-ปรับจริง รถจยย.ดัดแปลงสภาพ เตือนพ่อแม่ดูแลลูก

ตำรวจภูธรหาดใหญ่ จับ-ปรับจริง รถจยย.ดัดแปลงสภาพ เตือนพ่อแม่ดูแลลูก

วันที่ 6 ก.ย. 64 ตำรวจฝ่ายป้องกันปราบปราม สภ.หาดใหญ่ จับ-ปรับรถจักยานยนต์ที่ทำการดัดแปลงสภาพท่อไอเสียให้มีเสียงดังและยกล้อรถจักรยานยนต์แข่งขันบนถนนสาธารณะ ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่

240664889 4186160994815368 9096116127357688294 N

และขอฝากถึงผู้ปกครองให้ช่วยกันสอดส่องดูแล พร้อมทั้งกำชับบุตรหลานว่า ห้ามนำรถจักรยานยนต์ไปแต่งเปลี่ยนสภาพและนำออกมาขับขี่ในช่วงกลางคืนเนื่องจากในช่วงนี้ยังคงมีมาตรการเคอร์ฟิว งดการจัดเลี้ยง ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ห้ามเข้าสถานที่เสี่ยง การเดินทางเข้า-ออกจังหวัด ร้านอาหารและเครื่องดื่ม งดนั่งทานในร้าน โดยขยายเวลาออกไปอีก 14 วัน จนถึงวันที่ 14 ก.ย. 64

241445871 4186160648148736 4221362197725037351 N

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจยึด ในข้อหาดัดแปลงสภาพรถ และ ให้เจ้าของรถไปเสียค่าปรับที่ สภ.หาดใหญ่พร้อมกับนำวัสดุชิ้นส่วนรถยนต์ ของเดิมมาเปลี่ยนด้วยก่อนที่จะนำรถกลับไป

240667366 4186161048148696 2473440316443094691 N
240666447 4186160601482074 2245672848570400145 N 1

อ้างอิง : สภ.หาดใหญ่

Next Post

ม.อ. ชี้ ผลวิจัยพืชกระท่อม ต้านซึมเศร้า สามารถช่วยรักษาอาการพาร์กินสัน

Mon Sep 6 , 2021
ม.อ. ชี้ ผลวิจัยพืชกระท่อม ต้านซึมเศร้า สามารถช่วยรักษาอาการพาร์กินสัน วันที่ 6 ก.ย. 64 หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้สามารถปลูกพืชกระท่อมเอาไว้ครอบครอง สามารถซื้อ-ขาย หรือนำมาบริโภคได้อย่างเสรี ไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป และเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ นอกจากนี้ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานครอบครองพืชกระท่อม ถือว่าไม่ได้ทำความผิด ยกเว้นน้ำต้มใบกระท่อมผสมน้ำอัดลม หรือผสมยาแก้ไอ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า 4×100 สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ส่วนน้ำอัดลมมีสารคาเฟอีนซึ่งกระตุ้นสมองส่วนกลาง ยาแก้ไอทำให้ง่วงซึม เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันจะออกฤทธิ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว โดยชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ ใช้ใบกระท่อมในการรักษาอาการและโรคต่าง ๆ หลายชนิด เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง โดยการเคี้ยวใบสด เคี้ยวครั้งละ 1-3 ใบ และมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อให้สามารถทำงานได้ทนนาน และใช้ทดแทนสารเสพติดชนิดอื่น เช่น ยาบ้า เฮโรอีน สมบัติทางเภสัชวิทยา พบสารมิตรากัยนิน (Mitragynine) ทีมวิจัยพืชกระท่อมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ กำลังดำเนินงานศึกษาวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนมาตรการทางสาธารณสุขและการแพทย์ ทั้งในการป้องกันและดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจากการใช้พืชกระท่อมและผู้ใช้สารเสพติดชนิดอื่น รวมทั้งในการพัฒนาศักยภาพของพืชสมุนไพรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์อีกด้วย ซึ่งทางรศ. ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทีมงานคณะวิทยาศาสตร์ หนึ่งในทีมที่กำลังศึกษาวิจัยพืชกระท่อม เปิดเผยว่า ได้ใช้เวลาถึง 19 ปีที่ศึกษาวิจัย พืชกระท่อม ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นภาคใต้ เมื่อกฎหมายปลดล็อก จะปลูกกี่ต้นก็ได้ เพราะพืชกระท่อม คือ สมุนไพร ยิ่งทำให้เกิดความสนใจทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับชาวบ้านในภาคใต้จะกินเพื่อให้ตื่นตัว เพื่อให้ร่างกายพร้อมทำงาน แก้อาการปวดเมื่อย และเพื่อรักษาโรคท้องร่วง ผลการวิจัยล่าสุดที่เป็นไฮไลท์ในขณะนี้ คือ ผลการวิจัยในสัตว์ทดลองที่ชี้ว่า พืชกระท่อมช่วยต้านอาการซึมเศร้า บรรเทาอาการโรคพาร์กินสันได้ โรคสมองเสื่อมชนิดนี้มีอัตราการเกิดสูงถึง 1 ใน 3 ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด (อันดับหนึ่งคือโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีจำนวน 2 ใน 3) ผลวิจัยนี้นับว่าเป็นความหวังและโอกาสที่จะนำพืชกระท่อมไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าได้อีกมาก การวิจัยในหนูทดลองที่ชี้ว่าพืชกระท่อมแก้อาการซึมเศร้าได้ โดยวิเคราะห์จากรูปแบบคลื่นสมองของหนูทดลองและพฤติกรรมของหนูพบว่า เมื่อให้หนูทดลองว่ายน้ำ หนูที่ได้รับสารจากพืชกระท่อม จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบแอคทีฟ ไม่เซื่องซึม หรือหยุดนิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัดจากใบกระท่อม ซึ่งจะได้มีการศึกษาในมนุษย์ต่อไป อ้างอิง : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าว 01