งดเดินทางเข้า-ออก 4 จังหวัดชายแดนใต้ จ.ยะลาเปิดจุดขออนุญาตทำหนังสือเดินทางเข้าออก พิจารณาจำเป็นเท่านั้น
วันนี้ 29 มิ.ย.64 บรรยากาศที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา ที่กลุ่มงานความมั่นคง ได้เปิดจุดบริการ ขออนุญาติทำหนังเดินทางเข้า-ออกจังหวัด มีประชาชนที่มีความประสงค์ และมีความจำเป็นจำนวนมาก นำเอกสารสำคัญ แจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขอรับการพิจารณาถึงความจำเป็นในการเดินทาง
ด้าน นายสมบูรณ์ พรหมณี ปลัดอาวุโสอำเภอเมืองยะลา เปิดเผยว่า ตามคำสั่งของ ศบค.จังหวัดยะลา และแนวทางผู้ที่จะเดินทางเข้า-ออกจังหวัด จะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดยะลา ให้ขออนุญาต หนังสือรับรอง ที่ว่าการอำเภอหน้าด่าน ทางอำเภอได้มีการตั้งจุดบริการประชาชน หน้ากลุ่มงานความมั่นคง อำเภอเมืองยะลา จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับคำร้อง ปลัดอำเภอ ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับรอง กำหนดขั้นตอน และวางมาตรการคัดกรองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข การพิจารณา อนุญาต หรือไม่อนุญาตนั้น พิจารณาตามคำสั่งที่จังหวัดกำหนด เฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น
สำหรับผู้ที่ไม่มีความจำเป็นทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาไม่สามารถอนุญาตให้เเดินทางเข้าออกได้ ขอสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายคนเข้าออก ให้อยู่กับบ้าน เพื่อจำกัดพื้นที่การแพร่ระบาด ประชาชนที่เดินทางมาขอหนังสืออนุญาต นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประชาชนที่มีหนังสือนัดจากทางราชการ และผู้ป่วยที่มีใบนัดจากแพทย์ และรถขนส่งสินค้าต่างๆ สำหรับที่มีความจำเป็นจริงๆ ขอให้นำหลักฐานเอกสารสำคัญ มาด้วย เช่น มีหมายศาล คดีต่างๆ หรือใบหมอนัด และเอกสารต่างๆ ที่หน่วยงานราชการนัด ไม่สามารถเลื่อนระยะเวลาได้
อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา
Tue Jun 29 , 2021
สปสช. แนะแนวทางรักษาผู้ป่วยโควิดที่บ้าน พร้อมจ่ายค่าอุปกรณ์พร้อมอาหาร 3 มื้อ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ขณะนี้มีคนไข้ปริมาณมาก จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายกับที่เข้ามาใหม่ไม่สมดุลกันทำให้เตียงว่างมีไม่พอ การเพิ่มโรงพยาบาลสนามไม่ทันกับการเพิ่มจำนวนของคนไข้ในช่วงนี้ และสิ่งสำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานหนักมาหลายเดือนอยู่แล้วมีไม่พอ ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน (Home isolation) เข้ามาใช้เพื่อให้จำนวนบุคลากรที่มีสามารถดูแลผู้ป่วยในปริมาณมากๆ ได้ โดยขณะนี้มีการนำร่องที่โรงพยาบาลราชวิถีและวันนี้ 29 มิถุนายน 2564 จะมีการประชุมโรงพยาบาลเพื่อเตรียมพร้อมขยายระบบดังกล่าวไปทั่วประเทศ ระบบ Home isolation ของไทยนี้จะต่างจากของต่างประเทศ ซึ่งต่างประเทศจะให้คนไข้ดูแลตัวเองทุกอย่าง แต่ระบบของไทยจะยังอยู่ในการดูแลของโรงพยาบาล มีการให้อุปกรณ์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนไปที่บ้านเพื่อวัดค่าต่างๆ มีแพทย์โทรศัพท์หรือวิดีโอคอลตรวจสอบอาการทุกวัน มีการส่งอาหารและน้ำให้วันละ 3 มื้อ หากอาการทรุดลงก็จะส่งยาฟ้าทะลายโจรและยาฟาวิพิราเวียร์ไปให้ที่บ้านหรือส่งรถไปรับมานอนที่โรงพยาบาล ดังนั้น ระบบของไทยจึงไม่ใช่การผลักผู้ป่วยให้ไปเผชิญชะตากรรมเดียวดายอยู่ที่บ้าน แต่ดูแลเหมือนอยู่ในโรงพยาบาลเพียงแต่เปลี่ยนสถานที่เป็นที่บ้าน ซึ่งคนไข้ที่จะทำแบบนี้ก็ไม่ได้ทำกับผู้ป่วยทั้งหมดแต่ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และลักษณะบ้านว่ามีความเหมาะสมที่จะกักตัวได้หรือไม่ สปสช.จะสนับสนุนค่าบริการให้แก่โรงพยาบาล ตั้งแต่ค่าตรวจหาเชื้อ ค่ารักษา ค่ายา และยังจะสนับสนุนค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท และค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน เป็นเวลา 14 วันให้ด้วย นอกจากการทำ Home isolation ในบางสถานที่ที่มีผู้ติดเชื้อหลายคนก็อาจทำเป็นลักษณะ Community isolation ก็ได้ คือนำผู้ป่วยหลายๆ คนไปดูแลในสถานที่ที่จัดไว้เป็นการเฉพาะในชุมชน เช่น ในโรงงาน ในวัด มีรถเอกซเรย์ รถแล็บไปตรวจ มีแพทย์ใช้ระบบ teleconference ดูแลสอบถามอาการทุกวัน ทาง สปสช.ก็จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้เช่นเดียวกัน อ้างอิง : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine