เช็ค ! หากโดนเก็บค่ารักษาโควิด-19 อย่าเพิ่งจ่าย รีบโทรหาสายด่วนช่วยเคลียร์
สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) และ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิด 2 สายด่วน ช่วยเคลียร์ค่ารักษาพยาบาลโควิด-19 กรณีผู้ป่วยถูกเรียกเก็บเงินหากผู้ที่รักษาโควิด-19 ตามกระบวนการ แล้วถูกเรียกเก็บเงิน อย่าเพิ่งจ่าย ให้โทรไปที่สายด่วน 2 สายนี้ ได้แก่ สายด่วน สปสช. 1330 กด 12 และสายด่วน สบส. 1426
อ้างอิง : สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)
Thu May 20 , 2021
จังหวัดสงขลา เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในช่วงฤดูฝน วันที่ 20 พ.ค. 64 นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานประชุมเตรียมรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ประจำปี 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างมีระบบ สามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ พร้อมสร้างการรับรู้ทุกช่องทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมี นางกัญจนา เกลี้ยงเกลา ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสงขลา นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ณ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดสงขลา ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 64 จนถึงเดือน ต.ค. 64 และคาดการณ์ว่าช่วงฤดูฝนในปีนี้จะมีปริมาณฝนมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยช่วงกลางฤดูจะมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีแนวโน้มที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง จังหวัดสงขลาจึงได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ทั้งในด้านการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัยด้วยการจัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ , จัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย โดยทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของจังหวัดให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และให้ความสำคัญกับการจัดทำรายละเอียดครอบคลุมข้อมูลพื้นที่เสี่ยงในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บน้ำ/กั้นน้ำ , เมื่อมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม ให้แจ้งเตือนไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับและเตรียมการในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นการล่วงหน้า พร้อมแจ้งเตือนประชาชนทราบในทุกช่องทาง รวมถึงแจ้งเตือนระหว่างจังหวัดต้นน้ำและจังหวัดปลายน้ำอย่างใกล้ชิด ในกรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายให้บูรณาการหน่วยงานเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว หากเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหายหรือถูกน้ำท่วมจนประชาชนไม่สามารถใช้สัญจรได้ ให้จัดทำป้ายแจ้งเตือนพร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร แนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย และสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัยทุกช่องทาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine