จังหวัดสงขลาติดอันดับ 3 ของประเทศ ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า

จังหวัดสงขลาติดอันดับ 3 ของประเทศ ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เพราะปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา แต่ทั้งนี้โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
179565144 293775855653555 6235805024647152358 n HATYAITODAY
โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นพาหะ สามารถติดต่อได้จากการโดนกัด ข่วน หรือถูกเลียในบริเวณที่มีบาดแผล หรือแม้แต่น้ำลายสัตว์ที่มีเชื้อเข้าตา ปาก จมูก ซึ่งหากถูกกัดให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำสะอาดหลาย ฯ ครั้งทันที แล้วรีบไปพบแพทย์
1619609392784 HATYAITODAY
สำหรับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดสงขลา ปี 2563 มียอดการเกิดโรคสัตว์สะสม จำนวน 23 ครั้ง มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยอำเภอที่พบการเกิดโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุด คือ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอรัตภูมิ อำเภอสะเดา และพบมากในสุนัข และโค ส่วนในปี 2564 จังหวัดสงขลามียอดการเกิดโรคสะสม จำนวน 6 ครั้ง มากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ซึ่งอำเภอที่พบการเกิดโรคมากที่สุดคือ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะเดา อำเภอคลองหอยโข่ง และอำเภอสิงหนคร โดยพบมากในสุนัข แมว และโค
1619609361965 HATYAITODAY
ทั้งนี้ จังหวัดสงขลา โดยสำนักปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งในการผ่าตัดทำหมัน เพื่อควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมว โดยเน้นไปที่สัตว์จรจัดและสัตว์ด้อยโอกาส
รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์อย่างถูกวิธี เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ผู้เลี้ยงตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ ไม่นำสัตว์เลี้ยงไปปล่อย เพราะสัตว์จรจัดเป็นพาหะสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า นั้นเอง
อ้างอิง : ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

Next Post

รพ.สนามศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.อ.หาดใหญ่ จัดทำระบบความดันลบ ฆ่าเชื้อในอากาศ พร้อมบำบัดน้ำเสีย

Thu Apr 29 , 2021
รพ.สนามศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.อ.หาดใหญ่ จัดทำระบบความดันลบ ฆ่าเชื้อในอากาศ พร้อมบำบัดน้ำเสีย สำหรับโรงพยาบาลสนาม ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ 200 เตียง และสามารถรองรับได้อีก 500 เตียง รวมเป็น 700 เตียง กรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวนเพิ่มขึ้น พร้อมทั้ง จัดเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ไว้ หากมีการรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 8 ชั่วโมง เน้นคุณภาพความปลอดภัย และเป็นส่วนหนี่งของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ทางด้านนายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าขณะนี้ได้ปรับศูนย์อาหารของศูนย์ประชุมนานาชาติฯ เป็นโรงพยาบาลสนาม มีห้องอาบน้ำอยู่ด้านหลัง ระบบอากาศจะฆ่าเชื้อด้วยพลาสมา อากาศที่ออกจากที่นี่จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยกับชุมชน เชื้อโรคไม่แพร่กระจายออกไป จะทำให้ห้องมีความดันลบคล้ายโรงพยาบาล น้ำเสียจะได้รับการบำบัด ก่อนปล่อยออกไป ระบบโรงพยาบาลสนาม จะให้ความมั่นใจในความปลอดภัยและ ให้ความสะดวกสบาย สิ่งที่คนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามฯ ต้องเตรียม […]
ปกข่าวใหม่ [recovered] 01