คณะผู้ตรวจการแผ่นดิน เดินหน้าแก้ปัญหาน้ำเสียบริเวณทะเลสาบสงขลา
วันที่ 2 พ.ย. 63 พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยว่า ทะเลสาบสงขลา จัดเป็นลากูนสำคัญที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีพื้นที่ 8,729 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ และในวันนี้ได้ลงพื้นที่สำรวจภูมิประเทศทะเลสาบสงขลาโดยอากาศยาน ตรวจสอบซากเรือประมงเวียดนามที่ถูกยึดดำเนินคดีแล้วจอดทิ้งไว้บริเวณศูนย์การเรียนรู้เพาะพันธุ์ลูกปูบ้านหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เบื้องต้นพบสภาพปัญหาหลายประการ ประกอบด้วย
1.ปัญหาทะเลสาบสงขลาตื้นเขิน โดยเกิดจากการเพิ่มขึ้นของตะกอนจากการชะล้างพังทลายของดินจากที่สูง การบุกรุกป่าต้นน้ำ พื้นที่ภูเขาเพื่อทำสวนยางพาราหรือขุดดินลูกรัง, การปรับสภาพคูคลองระบายน้ำ, การใช้เครื่องมือประมงที่หนาแน่นปิดกั้นช่องทางการไหลของน้ำ ซึ่งเครื่องมือดักปลามีทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จึงอยากสนับสนุนให้ชุมชนใช้เครื่องมือประมงอย่างถูกต้องเหมาะสมในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน เพื่อบริหารจัดการและจัดระเบียบการประมงพื้นบ้านให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำและแข่งขันกันเอง รวมทั้งการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาปิดปากคลองสงขลาในปี พ.ศ. 2531 และการก่อสร้างเขื่อนหินกันคลื่นของท่าเรือสงขลา ในปี พ.ศ. 2546 ทำให้กระแสน้ำไม่สามารถไหลได้ตามธรรมชาติ 22 ปัญหาน้ำเสีย
2. เทศบาลหลัก คือ เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครสงขลา ซึ่งทั้งสองเทศบาลได้มีการบำบัดน้ำเสียแล้ว รวมถึงน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลและฟาร์มสุกร ทำให้พืชน้ำและสาหร่ายแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว เกิดการทับถมของซากพืชจนทำให้ทะเลสาบตื้นเขิน มีปริมาณสารโลหะหนักเจือปนที่มากเกินไปทำให้น้ำไม่เหมาะต่อการอุปโภค บริโภค รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ และการลดลงของค่าออกซิเจนในน้ำ ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง
3. ปัญหาซากเรือประมงเวียดนามที่ถูกยึดดำเนินคดีแล้วจอดทิ้งไว้บริเวณศูนย์การเรียนรู้เพาะพันธุ์ลูกปูบ้านหัวเขา จำนวน 161 ลำ เกิดการตื้นเขินและกีดขวางการไหลของน้ำ
อย่างไรก็ตามผู้ตรวจการแผ่นดินได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมหารือว่าเรือส่วนใหญ่ที่ดำเนินคดีเสร็จเรียบร้อย และตกเป็นทรัพย์ของแผ่นดินแล้วนั้น จะเข้าสู่กระบวนการกำจัดทิ้งต่อไปอย่างไร หน่วยงานใดต้องรับผิดชอบหลัก หรืออาจจะมีวิธีการที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ อีก เช่น อาจขนย้ายนำไปเป็นบ้านปลา – บ้านปะการังใต้ทะเล บางลำอาจต้องนำไปทำลาย
อ้างอิง : สวท.สงขลา