ประชาชนหาดมหาราช ชี้เเจงเเนวทางเเก้ไขปัญหากรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดมหาราช อ.สทิงพระ จังหวัดสงขลา
วันที่ 20 ต.ค.63 ตัวเเทนประชาชนหาดมหาราชชี้เเจงเเนวทางเเก้ไขปัญหากรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดมหาราช อ.สทิงพระ จังหวัดสงขลา แก่กรรมาธิการวิสามัญ นายนิธิวัฒน์ ชินพงศ์ ตัวเเทนเครือข่ายรักษ์หาดมหาราช เผยว่า หาดมหาราช เป็นชายหาดประวัติศาตร์ที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จราชดำเนินผ่านหาดมหาราช เพื่อไปวัดจะทิ้งพระ ทำให้ชายหาดมหาราชเป็นหาดประวัติศาสตร์ของคนในพื้นที่ ประกอบกับ ชายหาดมหาราชที่ผ่านมาไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง การพังของถนนเรียบชายหาดซึ่งเเป็นภาพที่กรมโยธาธิการ กล่าวอ้างนั้น เกิดจากการที่ถนนอยู่พื้นที่ของทะเล ซึ่งปกติเเล้วในช่วงมรสุมรุนเเรงคลื่นจะเข้ามาถึงถนนเป็นปกติ เเละความเสียหายของถนนส่วนใหญ่ขึ้นบริเวณทางระบายน้ำลงสู่ทะเลในช่วงมรสุม เพียง 4-5 จุด เเละปรากฎการณ์เเบบนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การซ่อมเเซมถนนให้กลับเงมาเป็นปกติ ก็เพียงพอเเล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างกำเเพงกันคลื่นเพื่อป้องกันถนนเเต่อย่างใด อีกทั้งถนนเรียบชายฝั่งเป็นถนน สายรอง ซึ่งในบริเวณอำเภอสทิงพระมีถนน 5 สายที่พาดผ่านอำเภอสทิงพระ หากถนนสายริมทะเลเสียหายไปบ้างในช่วง 3-5 วัน ก็ไม่ได้กระทบต่อการสัญจรไปมาของประชาชน
การเลือกใช้มาตรการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นตลอดชายหาดมหาราช ระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 152,000,000 บาทต่อกิโลเมตร จึงไม่มีความจำเป็นเเละไม่คุ้มค่าในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
นอกจากนั้นเเล้ว การดำเนินโครงการดังกล่าว มีความพกพร่องในการมีส่วนร่วมของประชาชน ชาวประมงในพื้นที่ริมหาดมหาราช เเละผู้ประกอบการที่อยู่ริมชายหาด ไม่เคยได้ถูกเชิญเข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นของโครงการ เเละการนำเสนอโครงการเป็นการล๊อครูปเเบบเป็นกำเเพงกันคลื่นทั้งสิ้น ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าโครงการดังกล่าวเลี่ยงการทำ EIA
ดังนั้น จึงสะท้อนความไม่โปร่งใสในดำเนินโครงการเเละบกพร่องในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทางด้านนายวิชัย แก้วนพรัตน์ ชาวประมงชายฝั่งหาดมหาราช กล่าวว่า ตนอยู่ริมชายหาดมหาราชมากว่า 65 ปี ไม่พบว่าชายหาดมหาราชเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นเป็นการกัดเซาะตามธรรมชาติ เพียง 3-5 วันก็กลับเข้าสู่ปกติ
ความห่วงกังวลของนายวิชัยต่อโครงการนี้คือ หากมีการดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 3 ซึ่งพื้นที่ก่อสร้างตั้งอยู่หน้าบ้านตนพอดี ชาวประมงบริเวณนั้นจะไม่สามารถจอดเรือเเละใช้ชีวิตได้ตามปกติ จึงอยากขอให้ยกเลิกโครงการระยะที่ 3 ออกไปก่อน เเละลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการระยะที่ 2 ซึ่งจุดสิ้นสุดของโครงการอยู่ห่างจากบ้านชาวประมง เเละพื้นที่จอดเรือ เพียง 30 เมตร
ทั้งนี้ทางก้านนายอภิศักดิ์ ทัศนี ตัวเเทนกลุ่ม Beach for life ได้สรุปภาพรวมเชิงประเด็นให้กรรมาธิการฯ เห็นว่าโครงการดังกล่าวของกรมโยธาธิการนั้น ไม่มีความจำเป็น กระทบต่อสิ่งเเวดล้อม ดังนี้
ประเด็นที่ 1 โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์หาดมหาราช ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง โดยข้อมูลจากกรมทรัพยากรทาลทะเลเเละชายฝั่ง กรมโยธาธิการฯ ภาพถ่ายต่างๆ ต่างชี้ชัดเจนว่าการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราชเป็นการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งในช่วงมรสุมเท่านั้น การเเก้ไขปัญหาเช่นนี้เพียงเเค่กำหนดมาตรการบรรเทาชั่วคราว เช่น วางกระสอบ ปักไม้ ซ่อมถนนที่ได้รับความเสียหายบางจุดก็เพียงพอเเล้ว
ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างป้องกันยาวเกือบ 2 กิโลเมตร กิโลเมตรละ 152 ล้านบาท เพื่อเเก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นชั่วคราว
ดังนั้นโครงการนี้ของกรมโยธาจึงไม่จำเป็นอย่างยิ่งเเละไม่สมเหตุสมผลในการใช้จ่ายงบประมาณเเผ่นดิน
ประเด็นที่ 2 การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นซึ่งโครงสร้างนี้ตั้งอยู่ในทะเล คลื่นสามารถเข้าถึงได้ จะก่อให้เกิดการกัดเซาะด้านท้ายน้ำ อย่างรุนเเรง เเละทรายด้านหน้ากำเเพงกันคลื่นจะหายไปอย่าถาวร ซึ่งมีบทเรียนจากกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น หาดทรายเเก้ว หาดปราณบุรี หาดหัวหิน เเละหาดชะอำใต้ ที่มีผลกระทบในลักษณะเดียวกัน
ประเด็นที่ 3 โครงการดังกล่าวในระยะที่ 2 ห่างจากพื้นที่ชุมชนประมงเพียง 30 เมตร เเละ ระยะที่ 3 อยู่หน้าชุมชนประมงชายฝั่งที่ใช้หาดทรายในการจอดเรือ ตากอวน ฯลฯ หากดำเนินการต่อไปในระยะที่ 3 วิถีชีวิตชุมชนต้องนี้ต้องถึงคราวล้มสลาย เพราะไม่มีชายหาดอีกต่อไป
ประเด็นที่ 4 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติได้ตรวจสอบโครงการดังกล่าว เเละมีความเห็นว่าควรชะลอโครงการเฟส 2 เเละ 3 ออกไป เพราะกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน เเละไม่ได้สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตามตัวเเทนทั้งสาม ได้มีข้อเสนอเเนะต่อกรรมาธิการ ดังนี้
1. ควรยกเลิกโครงการเฟสที่ 2-3 (เฟส 3 อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง เเละพื้นที่ไม่กัดเซาะ ชุมชนประมงไม่ต้องการก็ให้ยกเลิกไปก่อน)
2. ปัญหาที่กล่าวมา เข้าชี้แจง กมธ.ของรัฐสภา 3 ครั้ง เเละเห็นว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นนั้นไม่ต้องทำ EIA เเละการบกพร่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. ปัญหาหาดมหาราชเเละหาดอื่นๆ ชัดเจนว่าเกิดจากการกัดเซาะชั่วคราว ดังนั้นควรมีการส่งเสริมการกำหนดมาตรการชั่วคราวในสังคมไทย เช่น การวางกระสอบทรายแบบรื้อถอนได้ การปักไม้ เป็นต้น ทั้งนี้อาจต้องคิดในเชิงระบบทั้งโครงสร้างอำนาจหน้า ที่เละการตั้งงบประมาณให้สอดรับกับการใช้มาตรการชั่วคราว
4. กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งต้องกล้าหาญที่จะประกาศใช้กฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองพื้นที่ชายหาด โดยเลือกใช้มาตรการเเบบไม่ใช้โครงสร้าง เช่น การประกาศเเนวถอยร่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : Beach for life