รมว.วราวุธ ย้ำแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งต้องคุ้มค่า มนุษย์มีหน้าที่สร้างและรักษาความสมดุล
วันที่ 20 ต.ค. 63 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เผยว่า ตนได้รับทราบสรุปรายงานสถานการณ์พื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย ช่วงปี มีระยะทางรวม 91.69 กม. มีพื้นที่ที่กัดเซาะรุนแรงที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วนระยะทาง ๑๒.๘๗ กม. ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุมาจากกิจกรรมมนุษย์และผลกระทบที่เกิดจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ได้ดำเนินก่อสร้างแล้ว แต่ส่งผลต่อพื้นที่ข้างเคียงซึ่งในหลายพื้นที่ก็กลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐและชุมชน
โดยยกกรณีตัวอย่างการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล บริเวณพื้นที่ชายฝั่งหาดม่วงงาม ที่เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดม่วงงาม เรียกร้องให้หยุดดำเนินการ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ประสบปัญหาการกัดเซาะ ซึ่งศาลปกครองจังหวัดสงขลาให้มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน ซึ่งตนได้สั่งการให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและสั่งการให้หน่วยงานเร่งสำรวจและกำหนดแนวทางมาตรการการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยต้องคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาและการอนุรักษ์
“ระบบนิเวศทางธรรมชาติถูกออกแบบโดยสร้างความสัมพันธ์ทุกอย่างไว้อย่างลงตัว และธรรมชาติได้กำหนดทิศทางและความเป็นไปทุกอย่างไว้แล้ว มนุษย์ที่มีหน้าที่สร้างและรักษาความสมดุล ไม่ใช่พยายามเปลี่ยนแปลงความสมดุล การแก้ไขปัญหาไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่การแก้ไขปัญหาที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างหากที่ผิด”
นายวราวุธ กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าการก่อสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะเกิดจากความตั้งใจดีของหน่วยงานที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ แต่ต้องขอให้คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หรือความจำเป็น และความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย และสิ่งสำคัญที่ตนอยากฝากไว้ คือ การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำในขั้นตอนต่างๆ จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส.กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่ง ทส.โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เป็นหน่วยงานที่กำกับในเชิงนโยบายและนำเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยที่ผ่านมาได้เสนอคณะกรรมการนโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการแบ่งระบบกลุ่มหาด จำนวน 8 กลุ่มหาดหลัก และระบบหาดย่อย 318 ระบบหาด ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งสามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นจะกระทบทั้งชีวิต ทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน และสมดุลระบบนิเวศ
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
Wed Oct 21 , 2020
ประชาชนหาดมหาราช ชี้เเจงเเนวทางเเก้ไขปัญหากรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดมหาราช อ.สทิงพระ จังหวัดสงขลา วันที่ 20 ต.ค.63 ตัวเเทนประชาชนหาดมหาราชชี้เเจงเเนวทางเเก้ไขปัญหากรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดมหาราช อ.สทิงพระ จังหวัดสงขลา แก่กรรมาธิการวิสามัญ นายนิธิวัฒน์ ชินพงศ์ ตัวเเทนเครือข่ายรักษ์หาดมหาราช เผยว่า หาดมหาราช เป็นชายหาดประวัติศาตร์ที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จราชดำเนินผ่านหาดมหาราช เพื่อไปวัดจะทิ้งพระ ทำให้ชายหาดมหาราชเป็นหาดประวัติศาสตร์ของคนในพื้นที่ ประกอบกับ ชายหาดมหาราชที่ผ่านมาไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง การพังของถนนเรียบชายหาดซึ่งเเป็นภาพที่กรมโยธาธิการ กล่าวอ้างนั้น เกิดจากการที่ถนนอยู่พื้นที่ของทะเล ซึ่งปกติเเล้วในช่วงมรสุมรุนเเรงคลื่นจะเข้ามาถึงถนนเป็นปกติ เเละความเสียหายของถนนส่วนใหญ่ขึ้นบริเวณทางระบายน้ำลงสู่ทะเลในช่วงมรสุม เพียง 4-5 จุด เเละปรากฎการณ์เเบบนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การซ่อมเเซมถนนให้กลับเงมาเป็นปกติ ก็เพียงพอเเล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างกำเเพงกันคลื่นเพื่อป้องกันถนนเเต่อย่างใด อีกทั้งถนนเรียบชายฝั่งเป็นถนน สายรอง ซึ่งในบริเวณอำเภอสทิงพระมีถนน 5 สายที่พาดผ่านอำเภอสทิงพระ หากถนนสายริมทะเลเสียหายไปบ้างในช่วง 3-5 วัน ก็ไม่ได้กระทบต่อการสัญจรไปมาของประชาชน การเลือกใช้มาตรการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นตลอดชายหาดมหาราช ระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 152,000,000 […]