เทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดระบบวิเคราะห์แบบ Real time 10 จุดเสี่ยงน้ำท่วมเพื่อชาวหาดใหญ่
วันนี้ 20/10/63 ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ ขอแนะนำเว็บไซต์สำหรับการตรวจสอบระดับน้ำในพื้นที่หาดใหญ่แบบ Real time ซึ่งจะมี 10 จุดหลักๆ คือ สถานีสูบน้ำ ข7, แก้มลิงคลองเรียน, เหล็กใต้ 30 เมตร, เลียบคลองเตย (บานคาร์ฟู), ปากคลองเตย PT2, วัดหาดใหญ่ใน, สถานีสูบน้ำคลอง ร.1, บางศาลา, ม่วงก็อง เป็นต้น
โดยในเว็บไซต์จะโชว์ปริมาณน้ำ, อุณหภูมิ, ความชื้นและปั๊มสูบน้ำ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เผยแพร่ลงเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถตรวจเช็คได้ด้วยตัวเอง และในอนาคตจะนำข้อมูลย้อนหลังมาวิเคราะห์ เพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งขึ้นบริเวณพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งนี้ เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมและ วางแผนรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ลดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
Wed Oct 21 , 2020
รมว.วราวุธ ย้ำแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งต้องคุ้มค่า มนุษย์มีหน้าที่สร้างและรักษาความสมดุล วันที่ 20 ต.ค. 63 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เผยว่า ตนได้รับทราบสรุปรายงานสถานการณ์พื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย ช่วงปี มีระยะทางรวม 91.69 กม. มีพื้นที่ที่กัดเซาะรุนแรงที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วนระยะทาง ๑๒.๘๗ กม. ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุมาจากกิจกรรมมนุษย์และผลกระทบที่เกิดจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ได้ดำเนินก่อสร้างแล้ว แต่ส่งผลต่อพื้นที่ข้างเคียงซึ่งในหลายพื้นที่ก็กลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐและชุมชน โดยยกกรณีตัวอย่างการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล บริเวณพื้นที่ชายฝั่งหาดม่วงงาม ที่เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดม่วงงาม เรียกร้องให้หยุดดำเนินการ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ประสบปัญหาการกัดเซาะ ซึ่งศาลปกครองจังหวัดสงขลาให้มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน ซึ่งตนได้สั่งการให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและสั่งการให้หน่วยงานเร่งสำรวจและกำหนดแนวทางมาตรการการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยต้องคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาและการอนุรักษ์ “ระบบนิเวศทางธรรมชาติถูกออกแบบโดยสร้างความสัมพันธ์ทุกอย่างไว้อย่างลงตัว และธรรมชาติได้กำหนดทิศทางและความเป็นไปทุกอย่างไว้แล้ว มนุษย์ที่มีหน้าที่สร้างและรักษาความสมดุล ไม่ใช่พยายามเปลี่ยนแปลงความสมดุล การแก้ไขปัญหาไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่การแก้ไขปัญหาที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างหากที่ผิด” นายวราวุธ กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าการก่อสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะเกิดจากความตั้งใจดีของหน่วยงานที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ แต่ต้องขอให้คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หรือความจำเป็น และความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย และสิ่งสำคัญที่ตนอยากฝากไว้ คือ การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำในขั้นตอนต่างๆ จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน […]