สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาคที่ 4 เตรียมแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม ในระดับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
วันที่ 16 ก.ย.63 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาคที่ 4 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ปี 2564 – 2566 แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม ในระดับลุ่มน้ำ (ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรม บีพี สมิหลาบีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ปี 2564 – 2566 โดยแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม ในระดับลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหารือระบุประเด็นปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ตรวจสอบความครอบคลุม ครบถ้วนของแผนงานโครงการของหน่วยงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 20 ปี ทั้ง 6 ด้าน และเพื่อเสนอแนะแผนงานโครงการด้านการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำเพิ่มเติม
โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการวันนี้ มีการบรรยายในประเด็นปัญหาด้านน้ำ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การทบทวนพื้นที่น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเสีย องค์ประกอบแผนภาวะแก้ไขน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม โดย นายกรณรมย์ วรรณกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาคที่ 4 และได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อทบทวนแผนงานโครงการที่มีอยู่ให้ครบถ้วน เพียงพอและสอดคล้องกับแผนแม่บท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และร่วมกันวิเคราะห์พื้นที่ที่ต้องได้รับการพัฒนา แก้ไขอย่างเร่งด่วน และหาแนวทางในการพัฒนา นอกจากนี้ในที่ประชุมได้ร่วมกันจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ระดับลุ่มน้ำอีกด้วย

ทั้งนี้ปริมาณน้ำฝนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 1,500 มิลลิเมตร จนถึงประมาณ 2,900 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,992.2 มิลลิเมตร ตามตารางที่ 23-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำ ตามรูปที่ 23-4 ตารางที่ 23-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย 23.02 23.03 23.01 รูปที่ 23-4 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 8,495 ตารางกิโลเมตรและมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติ เฉลี่ยประมาณ 6,628.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 23-3หรือคิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 24.74 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 23-4 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย

อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา