ในการประชุมสภา ส.ส.สงขลา แนะสนับสนุนดำเนินการแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบและยั่งยืนใน จ.สงขลา
วันที่ 1 กันยายน 2563 กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจติดตามและประเมินสถานภาพพื้นที่แนวชายฝั่งทะเล จ.สงขลา พื้นที่ชายหาดปากแตระ ต.ปากแตระ อ.ระโนด โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) พบว่ามีการก่อสร้างโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ความยาวประมาณ 2,990 เมตร สร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นหาดทราย สำรวจชายฝั่งด้วยวิธีระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ระยะทาง 700 เมตร และสำรวจเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความชันชายหาดโดยวิธีการรังวัดภาพตัดขวางชายหาด (Beach Profile) 15 แนว โดยแต่ละแนวมีระยะห่างกัน 50 เมตร เพื่อเก็บข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแนวชายหาดในพื้นที่ดำเนินการโครงการฯ และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นต่อแนวชายฝั่งในอนาคต
และในการประชุมสภาที่ผ่านมา ทางด้าน ส.ส.สงขลา เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายสนับสนุนญัตติเรื่องการจัดตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง ใน จ.สงขลา ซึ่งมีพื้นที่ความยาวประมาณเกือบ 90 กม. ฝั่งอ่าวไทย โดยกรมโยธาธิการกำลังก่อสร้าง 2 จุด คือ อ.สิงหนคร และอ.สทิงพระ โดยมีทั้งคนที่คัดค้านเห็นด้วย เพราะปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นปัญหาที่รุนแรง ส่งผลความเสียหายต่อประชาชนและภาครัฐ เสียทัศนียภาพ ส่งผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยว
อัตราการกัดเซาะชายฝั่งที่ จ.สงขลา ประมาณ 5 เมตร ถือว่ารุนแรง ชายฝั่งอ่าวไทย จำนวน 7 จังหวัด และฝั่งอันดามัน จำนวน 6 จังหวัด บริเวณชายฝั่งมีทั้งพื้นที่อาศัย อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และพื้นที่อนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ สำหรับสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งที่สำคัญมี 2 สาเหตุ ดังนี้ 1. เกิดจากธรรมชาติ เช่น คลื่นลมมรสุมช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านจะทำให้เกิดการกัดเซาะในช่วงดังกล่าว เกิดจากน้ำขึ้น-น้ำลง และการเปลี่ยนแปลงจากภูมิอากาศของโลก เนื่องจากตอนนี้มีภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลาย ส่งผลให้น้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น เกิดพายุและส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง 2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ การพัฒนาชายฝั่ง เช่น การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การบุกรุกป่าชายเลน การสร้างเขื่อน การสูบน้ำบาดาลทำให้ชายฝั่งทรุดตัวลง ดังนั้นผลจากการกัดเซาะชายฝั่งมีผลต่อเศรษฐกิจ ริมชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะสูญเสียความสมบูรณ์ สวยงามของธรรมชาติ ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การดำรงชีวิต การสูญเสียที่อยู่อาศัย บ้านเรือนเสียหาย ทั้งนี้มีปัญหาการขัดแย้งในพื้นที่ จากการที่จะจัดทำจัดสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะ โดยมีบางกลุ่มมองว่า การกัดเซาะเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อไม่ได้อยู่ในช่วงมรสุมก็ไม่มีปัญหา ไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนหรือใช้หินถม อีกกลุ่มเห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนและคันกั้นแรงกระทบ เนื่องจากการกัดเซาะทำให้บ้านเสียหาย ถนนพัง การกลับคืนจะไม่ได้เท่าเดิม เมื่อเกิดการขัดแย้งขึ้นจึงนำไปสู่การประท้วง ดังนั้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จ.สงขลา ผมจึงขอสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : พรรคพลังประชารัฐ , กรม ทช.
Wed Sep 2 , 2020
จ.สงขลา ติดตามตรวจสอบสิ่งแวดล้อมชุมชนโรงไฟฟ้าจะนะ เมื่อวานนี้ (1 ก.ย.63) ที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายสมหวัง เรืองเพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมติดตามตรวจสอบ การดำเนินงานและพัฒนา สิ่งแวดล้อมชุมชนโรงไฟฟ้าจะนะ ครั้งที่ 2/2563 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมติดตามตรวจสอบ การดำเนินงานและพัฒนา สิ่งแวดล้อมชุมชนโรงไฟฟ้าจะนะ ครั้งที่ 2/2563 ทางคณะกรรมการบริหารโรงไฟฟ้าจะนะ ได้แแจ้งเรื่องสรุปผลการดำเนินงานโรงไฟฟ้าจะนะ ซึ่งได้เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563 เรื่องสรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม สรุปผลการดำเนินงานของคณะผู้ตรวจการสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าจะนะและอาสาสมัครสิ่งแวดล้อม ด้านคุณภาพอากาศ พบว่าดัชนีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป และคุณภาพอากาศที่ระบายจากปล่องโรงไฟฟ้าจะ มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ด้านระดับเสียง ได้ดำเนินการตรวจระดับเสียงภายในพื้นที่โรงไฟฟ้า ครอบคลุมบริเวณแหล่งกำเนิดเสียงดัง รวมจำนวน 11 สถานี และการตรวจวัดระดับเสียงสูงสุด และระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง บริเวณพื้นที่ชุมชนโดยรอบ พบว่าระดับเสียงในสถานประกอบการมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด […]