เทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมเปลี่ยนแนวคิด Smart City กับสำนักงานพาณิชย์เกาหลี
พร้อมแนวทางการเป็นเมืองอัจฉริยะของหาดใหญ่ในอนาคต
วันที่ 31 สิงหาคม 2563 (วันนี้) นายอมร วงศ์วรรณ ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับคณะจากสำนักงานพาณิชย์เกาหลี (KOTRA – Korea Trade Investment Promotion Agency) ที่เดินทางมาร่วมประชุมเพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ด้านความปลอดภัย ของเทศบาลนครหาดใหญ่ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ณ ห้องประชุมสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่
อย่างที่เราทราบกัน รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยถือเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน และได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้นตามค าสั่งส านักนายกรัฐมนตรี ที่ 267/2560 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2560 โดยมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เป็นประธาน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจ สังคม และโทรคมคมนาคม เป็นกรรมการ และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม ซึ่งคณะทำงานฯ นี้
มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอร่างยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
เมื่อเรามองถึง นิยามเมืองอัจฉริยะประเทศไทย “เมืองอัจฉริยะ” หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน
เมื่อมองถึงเมื่อหาดใหญ่บ้านเรานั้น มีศักยภาพสูงมากที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะในอนาคตไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การบริหารจัดการของเสีย และการเฝ้าระวังภัยพิบัติ ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาการประยุต์เอาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่งและการสัญจรที่ หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อ้างอิงข้อมูลจาก : เทศบาลนครหาดใหญ่ และ คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ