เตือนภัยสายบุญ ลดปล่อยปลาดุกหวั่นทำลายระบบนิเวศ
ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงเพื่อนำมาค้าขายและเป็นอาหารในปัจจุบันในประเทศไทย โดยเป็นปลาดุกลูกผสมที่เกิดจากปลาดุกยักษ์จากทวีปแอฟริกาและปลาดุกอุย ลูกปลาที่เกิดมาเป็นปลาลูกผสมที่ถือว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เรียกชื่อทางการค้าว่าปลาดุกบิ๊กอุย ได้ปลาที่โตเร็ว มีเนื้อดีพอสมควรและเป็นหมัน การใช้ประโยชน์คือนำมาบริโภคตามจุดประสงค์ที่ถูกเลี้ยงขึ้นมา ในปัจจุบันมีผู้นิยมนำปลาดุกบิ๊กอุยไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อทำบุญ แต่การกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่นั้นๆ โดยผมจะขอยกตัวอย่าง ในกรณีที่ปลาดุกที่ถูกเลี้ยงมาในที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปตลอดชีวิตสามารถปรับตัวหัดหาอาหารเองในธรรมชาติเป็นจากผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้เราสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่าการปล่อยปลาดุก 1 ตัน อาจจะทำให้สูญเสียสัตว์น้ำท้องถิ่นไปประมาณ 1.8 ล้านชีวิตต่อปี
จากข้อมูลกรมประมงได้กล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของประดุกเทศหรือปลาดุกบิ๊กอุยว่าว่า ในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่ หลาย เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิดมีความต้านทานโรคและสภาพ แวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ
ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่บ้านเรานั้น เป็นอำเภอที่มีคลองตัดผ่านอยู่มากมายตั้งแต่ช่วงกลางเมืองยาวไปจนถึงชานเมือง ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ง่ายมากสำหรับการปล่อยสัตว์น้ำไปยังบริเวณแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทั้งนี้ผู้ที่จะต้องการปล่อยสัตว์น้ำนั้นจำเป็นที่จะต้องสังเกตุว่าสัตว์น้ำที่นำมาปล่อยเป็นสายพันธ์ุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ (Alien species) ไม่อย่างนั้นการทำบุญที่เราตั้งใจ จะกลายเป็นบาปก็เป้นได้!!
อ้างอิงข้อมูลและภาพเพิ่มเติม : กรมการประมง และ Dr.Nonn Panitvong