อภ.ร่วมองค์กรต่างชาติ ทดลองวัคซีนโควิด19 ในหนู คาดทราบผล ต.ค.นี้ พร้อมเดินหน้าพัฒนาวัคซีน
เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2563 ที่ผ่านมา นพ. โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) เผยถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ขององค์การเภสัชกรรม(อภ.) ว่า จากสถานการณ์เชื่อว่ามีระยะที่ 2 เพราะอย่างสหรัฐก็มาก อินเดียก็ยังพบผู้ป่วยสูง ตัวโรคก็ยังอยู่ ดังนั้น การเตรียมตัวเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนขององค์การเภสัชกรรม ถือเป็นองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑืของประเทศที่มีนวัตกรรที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน โดยต้องจัดหายา วัคซีน ชุด PPE และเครื่องมือต่างๆในการป้องกัน หน้ากากในการรองรับ
โดยนพ. โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม ร่วมเสวนาในงาน “ Visual Policy Forum : เตรียมพร้อมอย่างไรกับการระบาดรอบที่สองของ COVID-19” ในประเด็น “วัคซีน – ยา : ความหวัง – โอกาส – วิกฤต” ได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ว่า ในส่วนขององค์การเภสัชกรรม ถือเป็นองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ของประเทศที่มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน โดยต้องจัดหายา วัคซีน ชุด PPE และเครื่องมือต่างๆในการป้องกัน
หลักต้องเตรียมพร้อม 3 เรื่อง
1. เรื่องยา Favipiravir ปัจจุบัน ณ วันที่ 15 ก.ค. 2563 มีอยู่ 590,680 เม็ด ดูแลผู้ป่วย 8,400 คน และซื้อวัตถุดิบสารเคมีตั้งต้น เพื่อนำมาผสมสูตร ขณะนี้ได้ทดลองสูตรในห้องทดลอง และเดือน เม.ย.จะทดสอบชีวสมมูล และขึ้นทะเบียนในเดือน ต.ค.2564
2. เรื่องวัคซีน ถือเป็นความหวังมาก ในส่วนของอภ.กำลังหารือในการประสานเทคโนโลยีในการแบ่งบรรจุ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนได้
นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับองค์กรเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยทดลองฉีดวัคซีนในไข่ฟัก และทดลองในหนู คาดว่าจะทราบผลปลายเดือนต.ค.2563
นอกจากนี้ ได้ให้งบสนับสนุน ทั้งจุฬาและมหิดลในการวิจัย Cell- based COVID-19 Vaccine ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีนี้ จึงกำลังหารือว่าจะลงทุนเรื่องนี้อย่างไร ทั้งหมดก็เพื่อให้ไทยพึ่งพาตนเองให้ได้
3.ในส่วนของชุด PPE ร่วมกับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มหาวิทยาลัยมหิดล กรมวิทยาศาสตร์บริการ และจุฬาฯ ร่วมกันหารือจนสามารถผลิตเองได้ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการมาขึ้นทะเบียนกับ อย.ถึง 25 รายที่สามารถผลิตชุด PPE ได้ และยังเป็นชุดที่นำมาใช้ใหม่ได้อีก ซึ่งราคาจะถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศ
ทั้งนี้นพ.โสภณ กล่าวต่ออีกว่า เรื่องวัคซีนถือเป็นความหวังมาก ซึ่งวัคซีนมี 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เอาตัวไวรัสโควิด โดยทำให้อ่อนแรง และทำให้ตายเลย แต่ที่ทำกันมากของจีน คือ เอาตัวไวรัสทั้งตัวฉีดเข้าไปเพื่อรกะตุ้นภูมิต้านทาน โดยทดลองขั้นที่ 3 ซึ่งต้องทดลองคนหลายๆเชื้อชาติ แต่ก่อนหน้านั้นต้องทดลองในสัตว์ก่อน กลุ่มที่ 2 เอาไวรัสตัวอื่น แต่เอายีนของโคโรนาใส่เข้าไป เพื่อให้สร้างสารมากระตุ้น และระงับการแบ่งตัวไม่ให้เข้าเซลล์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันออกฟอร์ตกำลังทำอยู่ ซึ่ง อภ.ก็พยายามทำโดยใช้เทคโนโลยีนี้เหมือนกัน
อ้างอิง : องค์การเภสัชกรรม