ผู้แทนของรัฐบาล ลงพื้นที่ชายแดนใต้ ติดตามการเรียนการสอน-คงมาตรการป้องกัน โควิด-19 อย่างเข้มงวด
สืบเนื่องจากวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 (วานนี้) ณ ห้องประชุม 1 อาคารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) พลเอกจำลอง คุณสงค์ รองหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานการประชุมผู้แทนพิเศษของรัฐบาลครั้งที่ 7/2563 โดยมีวาระ ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาทักษะและส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าตามวาระที่ประชุมกำหนด
ซึ่งภายหลังโรงเรียนทั่วประเทศเปิดเรียนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่พูดคุยและสอบถามเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน ที่สำคัญนักเรียนได้ความรู้ โดยผลการเปิดภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ในตอนนี้ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการเปิดเรียน 3 รูปแบบคือ การเรียนแบบ on site คือการเรียนปกติในห้องเรียน แต่แบ่งจำนวนนักเรียนให้เข้าเรียนกับครูผู้สอนโดยตรงแบบวันเว้นวัน การเรียนแบบ on air คือ การเรียนผ่านทีวี เป็นหลักสูตร การเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งได้ติดตั้งอุปกรณ์ แอพพลิเคชั่นต่างๆแก่นักเรียน ให้สามารถเรียนผ่านหน้าจอทีวี มือถือ และแท็บเล็ตได้ และการเรียนแบที่ 3 ป็นการเรียนออนไลน์ คือ การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต
โดยสรุปที่ประชุมได้รายงานข้อมูลว่า ทุกโรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมการป้องกันโรคระบาดโควิท-19 โดยจัดโต๊ะเรียนให้ห่างกัน จัดระยะห่างทางสังคม ล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสสิ่งใด พร้อมให้นักเรียนทุกคนใส่ หน้ากากอนามัย และนำอุปกรณ์ทานอาหารมาจากบ้านคนละชุด ซึ่งนักเรียนแต่ละโรงเรียนให้ความร่วมมือและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาด โควิด-19 เป็นอย่างดี
ทางด้านกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียน สถานศึกษา กิจกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเมื่อเปิดการเรียนการสอน ไว้ดังนี้
1) ให้มีการตรวจสอบการลาป่วยของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน หากพบว่าผู้ป่วยมากผิดปกติ ให้รายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบ
2) ให้มีการคัดกรองไข้และอาการทางเดินหายใจของนักเรียน นักศึกษา ครู และเจ้าหน้าที่ บริเวณทางเข้าสถานศึกษาทุกวัน หากพบผู้ที่มีอาการป่วยให้หยุดเรียนหรือท้างาน และพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที
3) หากพบว่ามีผู้ที่มีไข้จ้านวนมากผิดปกติให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการดูแลการป้องกันควบคุมโรคของ สถานศึกษา แจ้งไปยังหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
4) ห้องพยาบาลให้มีการบันทึกรายชื่อและอาการของนักเรียนที่ป่วย
5) แจ้งผู้ปกครองที่บุตรหลานมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ไอ จาม มีน้้ามูก เหนื่อยหอบ หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยง และอยู่ในช่วงกักกัน ให้หยุดเรียน รวมทั้งขอความร่วมมือกรณีที่มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรค ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้ปฏิบัติตัว ตามค้าแนะน้าของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
6) งดการจัดกิจกรรมรวมคน ทัศนศึกษา เช่น การยืนรวมกันหน้าเสาธง การจัดแข่งขันกีฬาสี การไปทัศนศึกษาดูงานที่ต้องรวมตัวและเคลื่อนย้ายคนจ้านวนมาก การประชุมใหญ่ กิจกรรมรวมตัววันส้าคัญต่างๆ
7) หากมีรถรับส่งนักเรียน ให้เจ้าหน้าที่สังเกตอาการนักเรียนก่อนอนุญาตให้ขึ้นรถ ให้นักเรียนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกคนระหว่างนั่งในรถ เปิดประตู หน้าต่างรถเมื่อหยุดรับนักเรียนในแต่ละจุดเพื่อให้มี อากาศถ่ายเทบ่อยๆ และท้าความสะอาดรถโดยเฉพาะที่ราวจับประตู ที่วางแขน และเบาะนั่งทุกวัน
8) พยายามเปิดประตูหน้าต่างของห้องเรียน เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ งดการเรียนในห้องแอร์ที่ไม่จ้าเป็น
9) ตรวจตราผู้ประกอบอาหารของโรงเรียนให้ปฏิบัติตามสุขอนามัยในการประกอบอหาร สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า หมวกคลุมผม face shield ถุงมือ ขณะประกอบอาหารและเสิร์ฟอาหารทุกครั้ง เน้นเมนูที่ปรุงสุกร้อน มีฝาปิดหรือ Counter Shield กั้นที่วางอาหาร
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ และ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์