บทสัมภาษณ์ ม่านกู่หวางฟู๊ด เปิดแนวคิดกับการรับซื้อทุเรียนเพื่อเกษตรกรชาวใต้
เมื่อเข้าสู่ช่วง กลางเดือนของปีหรือราว มิถุนายนถึงกรกฏาคม ตามข้างทางจะเต็มไปด้วยเหล่าพ่อค้าแม่ค้า ที่เปิดท้ายขายทุเรียนกันอย่างถ้วนหน้า จากเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้นทางสำนักข่าว Hatyai Today News ได้ลงพื้นที่ไปยังบริษัท ม่านกู่หวางฟู๊ด สัมภาษณ์คุณ เซียว เย่าเหิง และคุณประเสริฐ คณานุรักษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ในเรื่องของการการรับซื้อทุเรียนมีการรับในทุกประเภท หมอนทอง ก้านยาว ชะนี พวงมณี และทุเรียนบ้าน ซึ่งเป็นครั้งแรกของบริษัทที่รับซื้อทุกอย่างทุกประเภท ต่างจากปีก่อนที่มีการรับซื้อเฉพาะทุเรียนหมอนทองเท่านั้น ทำให้เกษตรกรมีที่ขายทุเรียนและยังเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรอีกด้วย ตลอดทั้ง 6 คำถามทางเราจะนำทุกท่านเข้าไปเปิดแนวคิดการรับซื้อทุเรียนเพื่อเกษตรกรชาวใต้ด้วยกัน
1.สินค้าจากทุเรียนทางบริษัทมีการส่งออกในรูปแบบไหนบ้าง
แบบแรกคือการส่งออกทุเรียนแบบสดมีการบรรจุแพ็คส่งผ่านทั้งในส่วนของทางบกและทางเรือรถ ในส่วนที่ 2 จะเป็นการส่งทุเรียนในรูปแบบแช่แข็งกล่าวคือจะเป็นการจัดส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้าประเภทเย็น
2.จากการเปิดโรงงานมาได้รับผลลัพธ์อย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าทุเรียนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถแทนด้วยผลไม้ชนิดอื่นได้ ในแต่ละปีนั้นแนวโน้มของคนที่ทานทุเรียนเป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้น สังเกตได้จากในหลายๆปีผลผลิตจากทุเรียนไม่พอขาย
3.ศอ.บต.มีการสนับสนุนโรงงานอย่างไรบ้าง
ศอ.บต.มีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์ไปยังชาวบ้านที่มีการปลูกทุเรียน รวมถึงในแง่ของการออกใบอนุญาตต่างๆ
4.ขณะนี้โรงงานมีแผนในอนาคตอย่างไรต่อทิศทางทุเรียนในปัจจุบัน
แน่นอนว่าทางเราเน้นไปในส่วนของทุเรียนสดเพราะตลาดในจีนค่อนข้างที่จะขยายขึ้นในทุกๆปี รวมถึงการทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการส่งออกทุเรียนมากขึ้น ทำให้ชาวจีนที่เป็นกลุ่มลูกค้ารู้ว่าทุเรียนที่ออกไปจากเรานั้นเป็นสินค้าที่ดีมีความอร่อยและถูกใจกลุ่มลูกค้าให้มากที่สุด
5.ถ้าจะพูดถึงรูปแบบการซื้อขายของทุเรียนในบริษัทเป็นไปในรูปแบบไหน
การซื้อขายของเรามี 2 รูปแบบคืออย่างแรกเรามีการรับซื้อผ่านพ่อค้าคนกลาง และอย่างที่สองคือชาวบ้านสามารถนำมาขายเองได้ที่โรงงาน จากการที่เรารับซื้อทุเรียนมาแล้วเราเลือกแต่ส่วนข้างในทั้งนี้ยังมีในส่วนของเปลือกทุเรียนที่ยังเหลืออยู่จะมีการจัดการในส่วนตรงนั้นอย่างไร ขณะนี้ทางบริษัทของเรายังอยู่ในขั้นวิจัยและพัฒนาถึงเปลือกทุเรียนดังกล่าว ซึ่งล่าสุดเองเปลือกทุเรียนเราได้นำไปทำเป็นปุ๋ย
6.สุดท้ายนี้อยากฝากอะไรถึงเกษตรกรที่เพาะปลูกทุเรียน
การที่เรามาเปิดโรงงานตรงนี้เราไม่ได้ทำเพียงแค่รับซื้อผลิตหรือส่งออกเท่านั้น แต่เรายังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการปลูกทุเรียน หรือผลทุเรียนออกมาแล้วมีปัญหา ทางเรามีทีมงานที่จะเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องดังกล่าว ณ ขณะนี้ทางยังได้มีโครงการเพิ่มไปถึงการสร้างตลาดกลางทุเรียนและลองกอง จังหวัดยะลา (ตลาดนัดมลายูบางกอก) ที่จะกำลังเปิดตัวในวันที่ 20 มิถุนายนนี้ ซึ่งจะมีการรับซื้อทุเรียนในทุกปีไม่น้อยกว่า 1 แสนตันต่อปีและผลไม้ต่างๆไม่น้อยกว่า 2 หมื่นตันต่อปี
จากข้อมูลของ ธนาคารกรุงเทพทำให้ทราบว่า ตลาดจีนมีขนาดใหญ่และความต้องการของผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ราคาทุเรียนไทยปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ถึงแม้ว่าราคาทุเรียนสดไทยในตลาดจีนปีนี้จะมีราคาสูงขึ้น แต่ชาวสวนทุเรียนไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ควรชะล่าใจ และควรเฝ้าติดตามสถานการณ์ชายแดนอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุเรียนสดไทยให้ได้คุณภาพและมาตรฐานตามข้อกำหนดของตลาดจีน รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกในสถานการณ์ที่อาจผันผวนต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้ไทยสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดทุเรียนสดในตลาดจีนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : ธนาคารกรุงเทพ
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์