ครม.เคาะแล้ว รถไฟทางคู่เฟส 2 ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา
จากรายงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ระยะ(เฟส)ที่ 2 รวม 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,483 กิโลเมตร(กม.) วงเงินก่อสร้างรวมกว่า 2.67 แสนล้านบาทว่า โดย ณ ขณะนี้ทางรฟท. กำลังเร่งปรับปรุงแก้ไขรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในทุกเส้นทาง ยกเว้นเส้นทางช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. ซึ่งผ่านอีไอเอแล้ว
ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติมด้วย โดยจะเสนอให้คณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาได้ในเดือน มิ.ย.63 และคาดว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. ได้ไม่เกินเดือน ก.ย.นี้
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า โครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 กว่า 7 สายซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.61 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ สศช. หรือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังมีบางคำถามเกี่ยวกับแผนลงทุนรถไฟทางคู่ เพราะต้องการคำตอบที่ชัดเจนว่าเมื่อลงทุนแล้วจะเกิดความคุ้มค่า เกิดประโยชน์ และสนับสนุนธุรกิจของ รฟท. อย่างไร ซึ่งได้ยืนยันแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเดินทาง และการขนส่งสินค้า เพราะทำให้ประหยัดเวลามากขึ้น ไม่ต้องสับหลีกทาง
แน่นอนว่าการเข้ามาของรถไฟทางคู่นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในข้อดีนั้น รถไฟรางคู่ช่วยลดเวลาการขนส่งได้ถึง 30% หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ สามารถอธิบายได้ว่าโดยการใช้รถไฟทางเดี่ยวในปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 12-14 ชั่วโมง จะลดลงเหลือเพียง 9-10 ชั่วโมงเท่านั้นหากเป็นการขนส่งโดยรถไฟทางคู่ ซึ่งใกล้เคียงกับการขนส่งด้วยรถบรรทุก แต่ต้นทุนถูกกว่า 2 เท่า ในส่วนของข้อเสียงจะเป็นในเรื่องระหว่างการก่อสร้างว่ามีผลกระทบมากน้อยเพียงใดต่อผู้คน และธรรมชาติที่มีการผ่านของรถไฟรางคู่
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : โครงการพิเศษรถไฟรางคู่ ภายใต้การรถไฟแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์