สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 340 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน ม.ค. 65 สะสม 31,570 คน
วันที่ 19 เม.ย. 65 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 340 ราย ด้วยการตรวจแบบ RT-PCR และผู้ติดเชื้อเข้าข่าย ATK รายใหม่ 1,186 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด- 19 ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคโควิด – 19 จึงขอเชิญชวนประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน ฯ และขอให้ผู้ที่รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว และครบระยะเวลารับวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 สามารถติดต่อขอรับการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ได้ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
Mon Apr 18 , 2022
สคร.12 สงขลา เตือนระวังป่วยโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด วันที่ 18 เม.ย. 65 ด้วยขณะนี้ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ห่วงใยพี่น้องประชาชน เตือนระวังป่วยโรคลมแดดหรือ“ฮีทสโตรก” โดยเฉพาะ 6 กลุ่มเสี่ยง ขอให้ดูแลสุขภาพของตนเองและหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด หากจำเป็นต้องอยู่กลางแดดให้กางร่มหรือใส่หมวก และควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ? นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอาจเจ็บป่วยจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat stroke) ได้แก่ 1.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ผู้ที่ทำงานก่อสร้างหรือออกกำลังกาย 2.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ 3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง 4.ผู้ที่มีภาวะอ้วน 5.ผู้ที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ 6.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น […]