รีวิวคาเฟ่น่ารักๆ หาดใหญ่
“Kee ya dee” คาเฟ่สุดมินิมอล ใจกลางเมืองหาดใหญ่ ที่ได้อารมณ์เหมือนออกไปพักผ่อนต่างจังหวัด
หรือเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติใจกลางเมืองหาดใหญ่ ภายในร้านเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นาๆ ชนิด
ที่นั่งแบ่งออกเป็น 2 โซน Out door และ In door เหมาะสำหรับทุกกิจกรรม ทั้งนัดเจอเพื่อน
พาครอบครัวมาทานอาหาร นัดคุยงานนอกสถานที่ หนีเมืองที่วุ่นวายมาชาร์ตพลัง จูงมือเพื่อน
สนิทมาถ่ายรูปชิคๆ สวยๆ
ส่วนในเรื่องของอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน ก็มีให้เลือกมากมาย แต่เมนูที่อยากแนะนำ คือ
น้ำอัญชันน้ำผึ้งมะนาวโซดา
และข้าวหมูซามูไร เนื้อหมูมีความนุ่ม รสชาติกลมกล่อม
นอกจากภายในร้านจะเป็นคาเฟ่แล้ว ยังมีครอสสอนศิลปะ
และดนตรีอยู่ด้วย ทำให้ภายในร้าน
เต็มไปด้วยงานศิลป์มากมาย ทั้งรูปวาด งานปั้น งานทำมือ ศิลปะแขนงต่างๆ
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งร้านที่ชิลล์มากๆ เพราะได้อารมณ์เหมือนมาพักผ่อนต่างจังหวัด
ได้เสพงานศิลป์สวยๆ สายคาเฟ่ สายศิลป์ สายรักธรรมชาติต้องมาลอง
นอกจากบรรยากาศร้านจะดีแล้ว อาหารในร้านก็ดี
จะสังเกตได้ว่าทุกๆ ภาชนะที่นำมาใส่อาหาร ทางร้านได้ใช้งานปั้นทั้งสิ้น
สลัด
อือหื้อออ น่าทาน น่าโดนมาก
บรรยากาศภายในโซนนอกร้าน
มีหลากหลายมุมให้เลือกนั่ง
ทุกๆ มุมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป แถมร้านนี้ยังมีอีกหนึ่งข้อดี คือ มีมุมสวยๆ ให้ถ่ายรูปมากมาย
ทั้งโซนในร้าน และ โซนนอกร้าน
ถ่ายรูปกับพี่ไก่ พรีเซ็นเตอร์ประจำร้านนะฮ่ะ
จูงมือแก็งค์เพื่อน แฟน ครอบครัว มาถ่านรูปฮิปๆ กันเถอะ
มุมนี้น่านรักมากเหมาะการการพาลูกๆ หลานๆ น้องๆ มานั่งเล่นพักผ่อนในวันหยุด
โซนในร้าน
งานศิลป์มีกี่แขนง
ศิลปะมีอยู่ 2 สาขาใหญ่ๆ คือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) หมายถึง งานศิลปะที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิต ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวก ดังนี้
1.1 จำพวกศิลปะทางกายภาพ หมายถึง กลุ่มงานวิจิตรศิลป์ที่เมื่อสร้างขึ้นแล้วปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่าง ทรวดทรง มีปริมาตร กินที่ว่างในอากาศ สัมผัสได้ด้วยประสาทต่างๆ กลุ่มนี้ประกอบด้วยงานวิจิตรศิลป์ในแขนงต่างๆ ดังนี้
– จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การเขียนโดยใช้สีหรือวัสดุใดๆ ก็ตามให้บังเกิดเป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพคนเหมือน (Portrait) ภาพหุ่นนิ่ง (Still life) ภาพคน (Human figure) ภาพสัตว์ (Animal figure)ภาพทิวทัศน์ (Landscape)
เป็นต้นซึ่งเป็นการถ่ายทอดภาพจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ลงบนระนาบ 2 มิติ แบบราบ เช่น กระดาษ ผ้าใบ ผนัง เป็นต้น จิตรกรรมมีหลายแขนง จึงมีการเรียกชื่อของจิตรกรรม แต่ละแขนงแตกต่างกันไปโดยพิจารณาจาก
วัสดุที่ใช้หรือจากเรื่องราว หรือจากตำแหน่งที่ติดตั้งผลงานที่สร้างขึ้น ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสม เช่น จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีฝุ่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตรกรรมภาพคน จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น ศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมนี้ เรียกว่า
จิตรกร
– ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง การปั้นหรือแกะ หรือการหล่อขึ้นรูปทรงสามมิติ เช่น รูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นรูปทรงสามมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะ เช่น รูปปั้นพระพุทธรูป เราเรียกว่า ปฏิมากรรม
ประติมากรรมแบ่งออกเป็น 2 แขนง ดังนี้
– ประติมากรรมปั้นและหล่อ หมายถึง การปั้นวัสดุต่างๆ ให้เป็นรูปทรงต่างๆ และเมื่อปั้นได้รูปทรง ตามความต้องการแล้ว ก็สามารถนำไปหล่อด้วยโลหะหรือปูนปลาสเตอร์ให้มีจำนวนมากๆ ได้ตามต้องการ
– ประติมากรรมแกะสลัก หมายถึง การแกะสลัก หรือเจียระไนวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ หิน หยก งาช้าง ฯลฯ ให้เป็นรูปทรงตามต้องการ นอกจากนี้ เรายังแบ่งผลงานของประติมากรรมออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
ประเภทนูนต่ำ ประเภทนูนสูง และประเภทลอยตัว เราเรียกผู้สร้างงานประติมากรรมว่า ประติมากร และเรียกผู้สร้างงานปฏิมากรรมว่า ปฏิมากร
2. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่างๆ ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้ เช่น ตึก อาคาร บ้าน เป็นต้น และสิ่งก่อสร้างที่คนเข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้ เช่น สถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้น นอกจาก
นี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็นแหล่งรวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ
ในช่วงเวลานั้นๆ เราแบ่งลักษณะงานของสถาปัตยกรรมออกได้เป็น 3 แขนง คือ
(2.1) สถาปัตยกรรมออกแบบสิ่งก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างตึก อาคาร บ้านเรือน เป็นต้น
(2.2) ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผังจัดบริเวณ วางผังปลูกต้นไม้ จัดสวน เป็นต้น
(2.3) สถาปัตยกรรมผังเมือง ได้แก่ การออกแบบบริเวณเมืองให้เป็นระเบียบ มีความสะอาด มีความรวดเร็ว ในการติดต่อ และถูกหลักสุขาภิบาล เราเรียกผู้สร้างงานสถาปัตยกรรมว่า สถาปนิก
– ภาพพิมพ์ (Graphic Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ กดให้ติดเป็นภาพ บนกระดาษจากแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ เช่น แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ หรือแม่พิมพ์อื่นๆ ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านั้นศิลปิน ได้สร้างสรรค์ขึ้นมา
ด้วยตัวของเขาเอง
การพิมพ์ภาพนั้นจะต้องมีแม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแบบอย่างสำหรับในการพิมพ์ ซึ่งสามารถเลือกใช้วัสดุต่างๆ นำมาเป็นแม่พิมพ์ได้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ไม้ กระดาษ ไม้ก๊อก กระดุม ขวด ชิ้นเผือก เป็นต้น แต่วัสดุต่างๆ ที่จะนำมาเป็นแม่พิมพ์นั้น
ต้องมีร่องมีรอย ซึ่งจะเป็นร่องลึกมากหรือลึกน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะแบบอย่างหรือรูปแบบในการพิมพ์ การพิมพ์ภาพในขั้นตอนแรกจะ ต้องออกแบบหรือร่างแบบเสียก่อน เพื่อที่จะได้ภาพพิมพ์ที่สวยงามและถูกต้องตามแบบอย่างที่
ต้องการ
3.3.1. โสตศิลป์และศิลปะการแสดง หมายถึง กลุ่มงานวิจิตรศิลป์ที่เมื่อสร้างขึ้นแล้วไม่มีปริมาตร ไม่กินพื้นที่ว่างในอากาศ ไม่ปรากฏรูปร่างให้สัมผัสได้ มีแต่เสียงหรือความเคลื่อนไหว อาจสัมผัสได้แต่สิ่งแทนหรือเครื่องมือ ซึ่งทำให้
เกิดความรู้สึก และอารมณ์ได้ กลุ่มนี้ประกอบด้วยงานวิจิตรศิลป์ในแขนงต่างๆ ดังนี้
– โสตศิลป์ (Audio Art) ซึ่งประกอบด้วยงานศิลปะในแขนงต่างๆ ดังนี้ (1) วรรณกรรม (Literature) ได้แก่ งานประพันธ์วรรณคดีต่างๆ
– ดนตรี (Music) หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ดุริยางคศิลป์ ได้แก่ การขับร้องและการบรรเลงต่างๆ
– ศิลปะการแสง (Performing Art) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า นาฏศิลป์ ซึ่งได้แก่ การร่ายรำและ การละครต่างๆ
3.3.2. ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) คือ ศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการด้านความสะดวกสบายทั้งทางกายและทางจิตใจของคนเรา ศิลปะประยุกต์จึงมีคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยต่อชีวิตประจำวันเป็นสำคัญ เช่น เครื่องประดับ
เสื้อผ้า เครื่องใช้ เป็นต้น ลักษณะของศิลปะประยุกต์มีหลายแขนง เช่น พาณิชยศิลป์ หัตถกรรม มัณฑนศิลป์ เป็นต้น
ที่มาบทความ : https://sites.google.com/site/aimaimaimaim2541/silpa-sakha-tang