สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 2 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 866 คน
สงขลาวันนี้พบผู้ป่วยเพิ่มแค่ 2 คน (เป็นผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศ) ข้อมูลไทม์ไลน์สามารถดูได้จากเพจ สาธารณสุขจังหวัด หรือสาธารณสุขของแต่ละอำเภอ ผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านวันนี้กลับบ้านเพิ่มอีก 20 คน รวมกลับบ้านแล้วทั้งสิ้น 591 คน คงเหลือผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 274 คน เสียชีวิตสะสมเป็น 3 คน รวมผู้ป่วยสะสม 868 คน เป็นผู้ป่วยในประเทศ 864 คน และเป็นผู้ป่วยเดินทางจากต่างประเทศ 4 คน
ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
Wed May 12 , 2021
เปรียบเทียบประสิทธิภาพชนิดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนทั้งหมดที่อยู่ในการศึกษาและรวมถึงที่อนุมัติให้เริ่มใช้ได้แล้วในบางประเทศ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ชนิด วัคซีนชนิดที่ 1 “mRNA vaccine” ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 หรือไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เมื่อฉีดวัคซีนเข้ามาในร่างกายมนุษย์ ตัวสารพันธุกรรมจะทำร่างกายมนุษย์สร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา ซึ่งวัคซีนในกลุ่มนี้ที่มาแรงที่สุดตอนนี้ คือ วัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer BioNTech) และของบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) ประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อดีของวัคซีนตัวนี้ คือ ผลิตง่าย รวดเร็ว ขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก และราคาไม่สูงมาก แต่มีข้อจำกัดคือ เนื่องจากวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ที่เคยมีใช้ทั่วโลกก่อนหน้านี้ ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในระยะยาวและประสบการณ์การใช้อาจมีไม่มากนัก นอกจากนี้วัคซีนในกลุ่มนี้ยังจำเป็นต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำมาก เช่น -70 หรือ -20 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงประสิทธิภาพไว้ได้ วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNTech) ประสิทธิภาพของวัคซีน ตามที่ตีพิมพ์ออกมาล่าสุด อยู่ที่ประมาณ 95% โดยให้วัคชีน 2 […]