พบซากโลมาลอยตายกลางทะเลและซากเต่าตนุเกยหาดที่ถูกเชือกรัดตาย อ่าวขนอม

พบซากโลมาลอยตายกลางทะเลและซากเต่าตนุเกยหาดที่ถูกเชือกรัดตาย อ่าวขนอม
พบซากโลมาลอยตายกลางทะเลและซากเต่าตนุเกยหาดที่ถูกเชือกรัดตาย อ่าวขนอม

พบซากโลมาลอยตายกลางทะเลและซากเต่าตนุเกยหาดที่ถูกเชือกรัดตาย อ่าวขนอม จนท.ลากเข้าฝั่งส่งชันสูตร ในเวลาเดียวกัน ที่สิชลพบซากเต่าตนุขนาดใหญ่คลื่นซัดเกยหาด พบถูกเชือกจากอวนรัดขาลึกถึงกระดูกและคอ คาดเป็นสาเหตุการตาย

วันนี้ (12 มี.ค.) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช และหน่วยกู้ภัยสยามร่วมใจ ได้ระบุแจ้งว่า พบซากลูกโลมาหลังโหนกตายลอยอยู่หน้าอ่าวขนอม หมู่ที่ 6 ต.ขนอม อ.ขนอม โดยมีฝูงครอบครัวโลมาคอยใช้จมูกประคองซากลูกโลมาอยู่ไม่ห่าง เจ้าหน้าที่จึงนำเจ็ตสกีออกไปลากซากโลมาตัวนี้กลับเข้าฝั่งเพื่อส่งชันสูตรสาเหตุการตาย

หลังจากเจ้าหน้าที่นำเจ็ตสกีออกไปถึงจุดที่ลูกโลมาลอยอยู่ พบโลมาสีชมพูตัวใหญ่พยายามประคองซากให้ลอยอยู่บนผิวน้ำ และเมื่อพยายามดึงซากโลมาได้ขัดขวาง แต่เจ้าหน้าที่ได้ใช้เชือกคล้องหางลากซากลูกโลมากลับเข้าฝั่ง พบว่าเป็นลูกโลมาหลังโหนกเมื่อถึงวัยหนึ่งจะมีผิวเป็นสีชมพูทั้งตัว หรือที่เรียกว่า “โลมาสีชมพู” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของอำเภอขนอม มีความยาวประมาณ 130 ซม.น้ำหนักประมาณ 20-30 กก. ไม่ทราบเพศ ตายมาแล้วประมาณ 2-3 วัน

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ จึงได้ประสานกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมารับไปทำการชันสูตรสาเหตุการตาย โดยไม่ห่างจากบริเวณนี้ในช่วงเช้าของวันนี้ เจ้าหน้าที่พบก้อนน้ำมันจำนวนมากเกยฝั่งโดยไม่ทราบที่มา ก่อนที่ในช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่มาพบซากโลมา

อีกทั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน ที่หาดบางดี ต.เสาเภา อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เครือข่ายช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากฝั่งอ่าวไทยได้แจ้งการพบซากเต่าตนุขนาดใหญ่น้ำหนักมากกว่า 50 กก. มีความยาวประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 60-80 ซม. เพศเมีย สภาพซากเน่าตายมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ถูกคลื่นซัดเกยหาด ต่อมา เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและช่วยชีวิตสัตว์ทะเล วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ได้เข้าพื้นที่ไปผ่าซากเต่าตนุเพศเมียในเบื้องต้น พบวัสดุคล้ายเชือกพันรัดบริเวณต้นขาหน้าขวาลึกถึงกระดูก และบริเวณคอของเต่า อวัยวะภายในส่วนใหญ่เน่าเปื่อย และได้เก็บตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อนำไปวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาสาเหตุการเสียชีวิตต่อไป

ทั้งนี้ โลมาสีชมพูในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พวกมันมีประชากรในธรรมชาติเหลือน้อยลงจากอดีตมาก เพราะฉะนั้นคงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ต้องมีส่วนช่วยในการรักษาธรรมชาติ

 

HATYAITODAYNEWS

ภาพ: Spring News
อ้างอิง: mgronline.com catdumb.com

Next Post

ส่งข่าว! ข่าวปลอม อย่าแชร์! พบผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย จากการติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Thu Mar 12 , 2020
  ส่งข่าว! ข่าวปลอม อย่าแชร์! พบผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย จากการติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดสุพรรณบุรี จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความว่า พบผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย จากการติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีมีผู้ส่งต่อข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ว่า “ตอนนี้ที่อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย” ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ออกมาชี้แจงในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ว่า ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พบผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1 ราย โดยผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ที่สัมผัสโรคจากผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ แล้วมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการติดเชื้อนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และได้นำผู้ติดเชื้อดังกล่าวมาพักรักษาในห้องความดันลบของโรงพยาบาลและส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากกรมควบคุมโรค สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/index.php หรือโทร. 1422 ได้ตลอด 24 ชม.   HATYAITODAYNEWS ภาพ: […]
วิจัย