สงขลา ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครอง จับหนุ่มค้ายาบ้าของกลาง 17 มัด รวม 34,340 เม็ด

สงขลา ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครอง จับหนุ่มค้ายาบ้าของกลาง 17 มัด รวม 34,340 เม็ด

วันที่ 18 พ.ค. 64 ภายใต้การอำนวยการของ นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา,นายวรณัฎฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา , นายจรัญ จันทรปาน ปลัดจังหวัดสงขลา ได้สั่งการให้ ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองจังหวัดสงขลา นำโดย นายวิเชษต์ สายกี้เส้ง ป้องกันจังหวัดสงขลา/หน.ชุด ชปพ.ปค.จว.สงขลา พร้อมด้วย นายสวัสดิ์ เหมือนหนู ผช.ป้องกันฯ /รอง หน.ชุดฯ , นายเกรียงศักดิ์ กลิ่นนแก้ว ผช.ป้องกันฯ/รอง หน.ชุดฯ,นายวริศ ศิริแสง ผช.ป้องกันฯ/รอง หน.ชุดฯ , นายหมวดเอก ไพรัช แก้วมณี ผช.ป้องกันฯ/รอง หน.ชุดฯ , นายกิตติศักดิ์ พิชัยยุทธ์ ผบ.ร้อย อส.จ.สข.1 /รอง หน.ชุดฯ และนายพันธกานต์ รัชณรงค์ ปลัดอำเภอหาดใหญ่/รอง หน.ชุด นำกำลัง อส.ประจำชุด ฯ และ ร้อย อส.จ.สข.1

ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครอง

ได้ดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดฯ 1 ราย ผู้ต้องหา 1 คน พร้อมด้วยของกลาง ยาบ้า 17 มัด (ประมาณ 34,340 เม็ด) ,รถยนต์เก๋ง 1 คัน และโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง โดยทั้งหมดจับกุมและตรวจยึดได้ที่บริเวณภายใน ห้องหมายเลข 9 ของรีสอร์ทแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลาเบื้องต้นชุดจับกุมแจ้งข้อกล่าวหาว่า “ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย” จากนั้นได้นำทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน สภ.รัตภูมิ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

186572645 2201086270028887 7632045153361836736 N

อ้างอิง : ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองสงขลา

Next Post

ระวังสัตว์น้ำป่วยง่าย ! เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน

Tue May 18 , 2021
ระวังสัตว์น้ำป่วยง่าย ! เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ในขณะนี้ที่สภาพอากาศของประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน ในหลายพื้นที่เริ่มมีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องทำให้สภาวะอากาศ อุณหภูมิและออกซิเจนในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้สัตว์น้ำทั้งที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติและที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในบ่อหรือในกระชังอาจจะปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ เสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่ายและอาจตายได้อย่างฉับพลัน  สำหรับโรคสัตว์น้ำที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและเกษตรกรควรเฝ้าระวัง เช่น โรคน๊อคน้ำ ส่วนใหญ่พบเกิดขึ้นในปลา เนื่องจากคุณภาพของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ออกซิเจนต่ำ ความเป็นกรด – ด่าง ต่ำ เกิดจากฝนตกชะล้างความเป็นกรดจากดินสู่น้ำ และความขุ่นในน้ำมากขึ้นหรือมีตะกอนแขวนลอยในน้ำสูง เป็นต้น ทำให้ปลามีอาการลอยหัว เปิด – ปิด กระพุ้งแก้มเร็ว เนื่องจากภาวะออกซิเจนหรือตะกอนในน้ำไปทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนของเหงือกลดลง จึงทำให้ปลาตายอย่างกระทันหัน โรคนี้ไม่มีทางรักษาแต่เกษตรกรสามารถเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้ อ้างอิง : กรมประมง Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าวแบบขนาด เฟส 01